
10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 55
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 15 เมษายน 2568
- Tweet
Innovestx บริษัทหลักทรัพย์ในกลุ่ม SCBx รายงานออนไลน์ใน Industry Update เรื่องการแพทย์ว่า
การประเมินผลกระทบ (Impact assessment) จากการปรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพ (Health insurance policy) เอกชนให้เป็นแบบร่วมจ่าย (Co-payment) มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2568 บริษัทประกันภัยในประเทศไทยมีแนวโน้ม (Tend) ปรับเบี้ยประกันภัย(Insurance premium) โดยรวมมากขึ้นเพื่อรับมือ (Handle) กับอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical inflation) ที่เพิ่มสูงขึ้น
ตลอดจนความถี่ (Frequency) ในการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple diseases) เราเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทําให้ ตลาดเกิดความกังวล (Market concern) ว่า จํานวนผู้ป่วย (Patient census) ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนอาจปรับตัวลดลง (Decline)
อย่างไรก็ตาม การประเมินของเราบ่งชี้ (Indicate) ว่า ผลกระทบ (Effect) ในระยะสั้นจะมีจำกัด (Limited) และเราเล็งเหนโอกาส (Chance) เติบโตในระยะยาว เนื่องจากเบี้ยประกันสุขภาพ (Health insurance) ที่คาดว่าจะลดลงจากการปรับใหม่แบบร่วมจ่าย ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยบวก (Favorable) ให้มีการเข้าถึง (Access) ประกันสุขภาพเอกชนได้มากขึ้น
สถานการณ์ (Situation) นี้ มึแนวโน้มที่จะทําให้ความต้องการ (Demand) ใช้บริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ปรับตัว (Adjust) เพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว จากข่าวที่เรารวบรวม (Accumulate) ได้และการตรวจสอบข้อมูลจากหลายช่องทาง (Channel)
เราพบว่าในปี พ.ศ. 2568 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) [Office of the Insurance Commission: OIC] และบริษัทประกันภัยมีแนวโน้ม (Tendency) ที่จะปรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพในประเทศไทยให้เป็นแบบร่วมจ่ายมากขึ้น
ทั้งนี้ อาจรวมถึงแบบที่มีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) ด้วย โดยปัจจุบัน กรมธรรม์ประกันสุขภาพเอกชนในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแบบเหมาจ่าย (Package) สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดจากอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้นและความถี่ในการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น โดยเฉพาะบริการผู้ป่วยใน (IPD)
สําหรับการป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple diseases) ส่งผลให้อัตราส่วนค่าสินไหมทดแทน (Loss ratio) ของบริษัทประกันสูงขึ้น ตามหลักการแล้ว กรมธรรม์ประกันสุขภาพที่มีเงื่อนไขร่วมจ่าย จะมีเบี้ยประกันที่ตํ่ากว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คปภ. เชื่อว่าการปรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพเอกชนให้เป็นแบบร่วมจ่ายมากขึ้น จะทําให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบประกันสุขภาพได้อย่างแท้จริง ภายใต้เบี้ยประกันที่ยุติธรรม (Fair) และสมเหตุสมผล (Reasonable) ท่ามกลางค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น
ในมุมมองของเรา การปรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพเอกชนใหเป็นแบบร่วมจ่ายมากขึ้น ทําให้ตลาดเกิดความกังวล (Concern) ว่าจํานวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนอาจปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า จํานวนผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพเอกชนจะไม่ได้รับผลกระทบ (Effect) ทั้งหมด ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นคือการ ชะลอการเข้าใช้บริการ IPD สําหรับการป่วยเล็กน้อยทั่วไป
แหล่งข้อมูล –