14. ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส - ตอนที่ 37
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 10 สิงหาคม 2567
- Tweet
โดยราคา, รสชาติ, ความสะดวก, และความชื่นชอบ (Preference) ถือเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ โดยเพาะกลุ่มผู้บริโภคชั่วอายุคน (Generation: Gen) Z จะหาข้อมูล (Information) อาหารสุขภาพตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ (Review) ออนไลน์มากกว่ากลุ่มอื่น นอกจากนี้ ผู้บริโภคที่สนใจอาหารเพื่อสุขภาพยังมีการซื้ออาหารเสริม (Food supplement) โดยเฉพาะเพื่อเสริมสุขภาพและโภชนาการ (Nutrition) ควบคู่ไปด้วย
- ธุรกิจออกกำลังกาย
เป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโต โดยเฉพาะในธุรกิจอุปกรณ์เสริม (Supplementary equipment) ในการออกกำลังกาย (Physical activity) ที่กำลังเป็นที่นิยม (Popular) และมีแนวโน้ม (Trend) เติบโตได้ดีต่อเนื่อง แต่ธุรกิจให้บริการออกกำลังกาย อาจเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรม (Behavioral risk) ของผู้ออกกำลังกายที่คุ้นชิน (Familiar) กับการออกกำลังกายที่บ้าน (Home exercise) เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องจากช่วงระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (Expenditure) เพิ่มเติมเท่าไรนัก
ทั้งนี้ ผู้บริโภคกว่า 90% ระบุว่า มีการออกกำลังกาย และส่วนใหญ่นิยมการเดิน (Walking) ออกกำลังกายโดยเฉพาะในชั่วอายุคน Baby boomer, การวิ่งใน Gen Z, การเข้ายิม/ฟิตเนสในกลุ่ม Gen Y, ชั้นเรียนโยคะ (Yoga class) และวิธีสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ (Pilates) ใน Gen X อีกทั้งยังมีสถานที่ตั้ง (Location) เป็นปัจจัยสำคัญในการไปออกกำลังกาย
- ธุรกิจผลิตภัณฑ์ด้านความงาม
เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวสดใส (Favorable outlook) โดยกลุ่มเป้าหมาย (Target group) สำคัญคือ กลุ่มสตรี (Female) และกลุ่มหลากหลายทางเพศ LGBTQIA+ (= Lesbian, Gay, Bi-sexual, Transgender, Queer, Intersex, และ Asexual) เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะใช้จ่าย (Affordable) ในผลิตภัณฑ์ด้านความงาม (Aesthetics) สูง
โดยผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า (Facial care) เป็นกลุ่มที่ผู้บริโภคให้ความสนใจสูงสุด (Highest interest) ตามด้วยการดูแลผิวกาย (Skin care) และการป้องกันแสงแดด (Sun protection) ซึ่งผู้บริโภคเลือกใช้ยี่ห้อ (Brand) ทั่วไปเป็นหลัก รองลงมาเป็นเวชสำอาง (Cosmetics) ต่างชาติ และยี่ห้อขายตามเค้าน์เตอร์ แต่กลุ่ม Gen Z จะนิยมยี่ห้อไทยที่ส่งเสริมการตลาดในออนไลน์สูงกว่า นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะพร้อมจ่ายมากขึ้น หากเป็นผลิตภัณฑ์นั้นผลิตตามธรรมชาติ (Organic)
- ธุรกิจนวดและสปา
เป็นอีกธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น แม้ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังใช้บริการนวด (Massage) และสปา (Spa) ค่อนข้างน้อย แต่ผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการนวดและสปาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y ซึ่งเป็นกลุ่มคนทำงาน (Work-force)
โดยบริการนวดแผนไทย (Traditional Thai) ในร้านนวดขนาดเล็ก ยังยืนหนึ่งครองใจผู้บริโภค ด้วยค่าบริการที่ไม่แพงนัก (Inexpensive) แถมยังมีบริการที่หลากหลาย (Variety) ตามด้วยสปาขนาดกลาง-ใหญ่ ที่ออกมีโปรแกรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูด (Attract) ลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการในร้านมากขึ้น นอกจากนี้ การบริการนวดและสปารูปแบบ (Pattern) ใหม่ๆ เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นแต่ยังมีผู้ใช้บริการเฉพาะกลุ่มอยู่
แหล่งข้อมูล –
- https://moneyandbanking.co.th/2023/82046/ [2024, August 9].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Wellness_(alternative_medicine) [2024, August 9].