14. ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส - ตอนที่ 36
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 กรกฎาคม 2567
- Tweet
หนังสือพิมพ์ การเงินการธนาคารออนไลน์ พาดหัวข่าว แหล่งข่าว SCB EIC (ศูนย์ข่าวเศรษฐกิจ [Economic Intelligence Center] ของ ธนาคารไทยพาณิชย์] ว่า ตลาดเว็ลเน็ส (Wellness) 1.5 ล้านล้านบาท ยังเติบโตต่อ โดยส่อง 5 ธุรกิจมาแรง อันได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ, การออกกำลังกาย (Exercise), สินค้าความงาม (Aesthetics), นวดสปา (Spa Massage), และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism) โดยแนะกลยุทธ์เจาะตลาด (Market penetration), ตั้งราคาเข้าถึงได้ (Affordable pricing), และ รายการเหมจ่าย (Package) เพื่อครอบคลุมหลายด้าน (Comprehensive) ของการตลาดเฉพาะบุคคล (Individualized marketing)
เมื่อสิ้นปีที่แล้ว SCB EIC เปิดเผยว่า สุขภาพและสุขภาวะสมบูรณ์ (Health and wellness) เป็นธุรกิจที่กำลังมาแรง (Popular) ทั้งในระดับโลก (Global) และในประเทศ (Domestic) โดยมูลค่าตลาด (Market value) ของไทยมีขนาดใหญ่มากอยู่ที่ราว 1.5 ล้านล้านบาทในปี ค.ศ. 2562 คิดเป็น 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross domestic product: GDP) ของไทย อีกทั้งมีแนวโน้มมหึมา (Mega trends) ที่จะเติบโตต่ออย่างต่อเนื่อง
- การก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completely-aged society)
- พฤติกรรม (Behavior) การใส่ใจสุขภาพมากขึ้นของผู้บริโภค
- อัตราการเป็นโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease) เรื้อรัง (Chronic) ที่เพิ่มสูงขึ้น
- นโยบายสนับสนุน (Promotion policy) จากภาครัฐ ซึ่งจะสร้างโอกาส (Opportunity) ให้แก่ภาคธุรกิจในการเกาะกระแส (Fever) ที่กำลังเติบโต
SCB EIC ได้สำรวจผู้บริโภคชาวไทยในด้านสุขภาพและสุขภาวะสมบูรณ์ แล้วพบว่า หลังผ่านวิกฤตโควิด-19 ผู้บริโภค (Consumer) ชาวไทยให้ความใส่ใจต่อสุขภาพ (Health consciousness) ที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริม (Support) ให้เกิดการใช้บริการด้านสุขภาพและและสุขภาวะสมบูรณ์สูงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์
อย่างก็ตาม พฤติกรรมนี้ ก็ตามมาด้วยอัตราสูงขึ้นของอัตราการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้น ภาครัฐต้องมีนโยบายสนับสนุน กลุ่มธุรกิจสุขภาพและสุขภาวะสมบูรณ์ ซึ่งแต่ละธุรกิจมีฐานลูกค้าหลักและพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภคที่แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน (Visible difference)
5 กลุ่มธุรกิจสุขภาพและเวลเนสมาแรง อันได้แก่
- ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ
เป็นธุรกิจที่กลุ่มผู้บริโภคทุกเพศ (Gender) ทุกวัย ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะใช้จ่าย (Ready to pay)เนื่องจากผู้บริโภคกว่า 70% มีพฤติกรรมเลือก (Select) รับประทานอาหาร ทั้งหลีกเลี่ยง (Avoid) รับประทานอาหารบางประเภท และเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (Healthy diet) เป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังมีผู้บริโภคจำนวนมากที่อยู่ระหว่างลด/ควบคุมน้ำหนัก (Weight loss/control)
ทั้งนี้ กลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพที่ผู้บริโภคสนใจและหาซื้ออย่างต่อเนื่องนั้น จะอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มสุขภาพ (Health beverage) กลุ่มอาหารทั่วไปแต่หลีกเลี่ยงบางประเภท เช่น อาหารหวาน-มัน-เค็มจัด หรือสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) และกลุ่มอาหารธรรมชาติ (Organic) ทั้งนม, ไข่, ผัก, ผลไม้, และเนื้อสัตว์
แหล่งข้อมูล –
- https://moneyandbanking.co.th/2023/82046/ [2024, July 26].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Wellness_(alternative_medicine) [2024, July 26].