14. ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส - ตอนที่ 22
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 28 ธันวาคม 2566
- Tweet
นิยามใหม่ของความเป็นอยู่ที่ดีหรือสุขภาวะสมบูรณ์ (Well-ness) มีทั้งสิ้น 8 มิติ ได้แก่ กาย (Physical), จิต (Spiritual), สังคม (Social), อารมณ์ (Emotional), สติปัญญา (Intellectual), อาชีพการงาน (Occupational), สภาพการเงิน (Financial) และสภาพแวดล้อม (Environmental)
ธุรกิจสุขภาพ (Health) และสุภาวะสมบูรณ์ เติบโตได้ดีทั่วโลก สวนกระแสเศรษฐกิจซบเซา (Economic slow-down) โดยเฉพาะหลังเกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาค (Sector) ธุรกิจต่างๆ หันมาให้ความสนใจในด้านนี้เป็นอย่างมาก
ตั้งแต่ ธุรกิจเสริมสุขภาพจิต (Mental), ธุรกิจเทคโนโลยี, นวัตกรรม (Innovation) ดูแลป้องกันรักษาสุขภาพ, กิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism), ธุรกิจการให้บริการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home care), ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care), ธุรกิจสปาและความงาม (Aesthetics) รวมไปถึง ยา (Drug), อาหาร (Food), และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health product) ต่างๆ
สถาบันโกลบอลเว็ลเน็ส (Global Wellness Institute: GWI) ได้ทำวิจัยเศรษฐกิจด้านสุขภาพทั่วโลก (Global Wellness Economy) เมื่อปี พ.ศ. 2563 พบว่าตลาดมีมูลค่าสูงถึง 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 154 ล้านล้านบาท) โดยมูลค่า 2 สาขาของธุรกิจใหญ่สุดมีดังนี้
- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness tourism) ซึ่งจะเป็นสาขาที่จะเติบโตเป็น 2 เท่าในปี พ.ศ. 2573 คาดว่าจะเป็น 59 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 55.65 ล้านล้านบาท) จากปี พ.ศ. 2563 ที่มีมูลค่าราว 4.36 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 15.26 ล้านล้านบาท) หากผู้ประกอบการไทยสามารถดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เข้ามาได้มาก จะเป็นการช่วยเหลือประเทศในเชิงคุณภาพ (Quality) เพราะใช้จ่ายต่อหัวสูง (Expenditure per head)
- การดูแลตัวเอง (Personal Care) และความสวยงาม (Beauty) ราว 55 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 33.425 ล้านล้านบาท)
นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 สาขาที่เติบโตอย่างรวดเร็วด้วย ดังนี้
- การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy eating), หรือกินอาหารเป็นยา (Nutrition), อาหารลดน้ำหนัก (Weight loss)
- การออกกำลังกายและกายภาพ (Physical activity)
ในประเทศไทย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ถือเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงและเติบโตต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี พ.ศ. 2560 จาก GWI พบว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวในตลาดนี้สูงถึง 12.5 ล้านครั้ง สร้างรายได้กว่า 4 แสนล้านบาท และเกิดการจ้างงานสูงถึง 530,000 คน
ในห้วงหลายปีที่ผ่านมามีบริษัทเปิดใหม่ (Start-up) ที่มองเห็นโอกาสในการต่อยอดสินค้าและบริกาณจากรูปแบบเดิม (Conventional) ให้สามารถตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิต (Life style) และแก้ปัญหาด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนในยุคดิจิทัล (Digital) จึงหันมาพัฒนาธุรกิจด้านสุขภาวะสมบูรณ์ที่เรียกว่า Wellness Tech กันมากขึ้น
แหล่งข้อมูล –
- https://www.bangkokbanksme.com/en/7sme1-health-and-wellness-mega-trend-grows-strong [2023, December 27].
- https://globalwellnessinstitute.org/press-room/statistics-and-facts/ [2023, December 27].