14. ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส - ตอนที่ 21

แนวโน้มมโหฬาร (Mega Trend) ถือเป็นคำยอดนิยม (Popular) ที่ได้รับการกล่าวขานเสมอในการวิเคราะห์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (Future) ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสังคม (Society), เศรษฐกิจ (Economy), การเมือง (Politics), สิ่งแวดล้อม (Environment), และเทคโนโลยี (Technology) ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสำคัญในทุกด้านต่อโลก ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงในด้านที่ดีหรือร้าย

ตัวอย่างเช่น ภาวะโลกร้อน (Global warming) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมโหฬาร เรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ในการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตร (Friendly) สภาพแวดล้อมของโลก หรือจำนวนประชากรสูงอายุ (Elderly) ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดผลกระทบด้านอาหารในอนาคต (Future food) 

McKinsey [บริษัทที่ปรึกษาอันดับ 1 ของโลก] ได้แสดงความเห็นไว้ว่า Mega คือแนวทางการเปลี่ยนแปลงครั้งมโหฬารในมิติ (Dimension) ต่างๆ ของโลก การคาดการณ์อนาคตทางธุรกิจและการลงทุน (Investment) จะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมในทุกด้าน ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน (Daily life) รวมถึงชีวิตการทำงานด้วย

ดังนั้น Mega Trend จึงหมายถึง สิ่งใหม่ๆ (Novel) ที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ (Change) ที่เกิดขึ้นแล้ว สามารถกำหนดทิศทาง (Direction) หรือชี้นำ (Lead) อนาคตของผู้คนบนโลกมนุษย์ได้ หากผู้ใดไม่ปรับเปลี่ยนตนเองให้สอดคล้องตามกระแส ก็จะกลายเป็นคนตกยุคไป (Obsolete)

ในแง่มุมนี้ สุขภาพ (Health) และความเป็นอยู่ที่ดี (Well-ness) ก็มี Mega Trend ที่จะนำสู่การแปลงโฉม (Transformation) ครั้งมโหฬาร เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคของผู้ประกอบการ (Entrepreneur) และวิสาหกิจขนาดเล็กและกลาง (Small and medium-sized enterprise: SME) อันจะนำไปสู่ความสำเร็จและการเจริญเติบโตอย่างยั่นยืน

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้นิยามว่าสุขภาพ (Health) คือสภาวะความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกาย (Physical), จิต (Mental), และสังคม (Social) โดยมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่การปราศจาก (Absence) โรคและความอ่อนแอ ซึ่งเป็นนิยามที่ครอบคลุมใน 3 มิติสำคัญของชีวิตมนุษย์ แต่ในภายหลังได้เพิ่มเติมมิติอื่นๆ เข้ามา เช่น มิติทางสติปัญญา (Intelligence) และทางอารมณ์ (Emotion) เป็นต้น

ส่วนความเป็นอยู่ที่ดี (Wellness) คือความสมดุล (Balance) ในทุกมิติของบุคคลหนึ่งๆ เรามีความเป็นอยู่ที่ดีได้เมื่อบุคคลดังกล่าวเลือกทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์ ความเป็นอยู่ที่ดีส่งผลโดยตรงกับสุขภาพองค์รวม (Holistic)

คำว่า ‘สุขภาพ’ และ ‘ความเป็นอยู่ที่ดี’ มักจะเขียนมาพร้อมกันหรือใช้แทนกัน แต่ทั้งสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันพอสมควร โดยสุขภาพคือเป้าหมาย (Goal) ส่วนความเป็นอยู่ที่ดีคือกระบวนการ (Process) ที่ทำให้ไปถึงเป้าหมาย สุขภาพดีคือสภาพที่ร่างกายปราศจากโรค ในขณะที่ความเป็นอยู่ที่ดีคือความสมดุลในทุกมิติ

ในระยะแรกองค์การอนามัยโลก กำหนดความเป็นอยู่ที่ดีไว้เพียง 3 มิติ คือ กาย, จิต, และสังคม ต่อมามีความสนใจศึกษาเพิ่มขึ้นทั่วโลก จึงมีการเสนอมิติอื่นๆ เพิ่มขึ้น ในปัจจุบันมิติของความเป็นอยู่ที่ดีที่นิยมกล่าวถึง มี 8 มิติด้วยกัน 

แหล่งข้อมูล – 

  1. https://www.bangkokbanksme.com/en/7sme1-health-and-wellness-mega-trend-grows-strong [2023, December 13].
  2. https://globalwellnessinstitute.org/press-room/statistics-and-facts/ [2023, December 13].