12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 48
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 9 มกราคม 2568
- Tweet
- ส่วนผู้ชายก็ต้องการให้ตนเองรูปหล่อ-เข้ม ได้รับความสนใจ (Attention) หรือเป็นที่จับจ้องโดยสายตาของผู้คน หรือ ดึงดูด (Attractive) เพศตรงข้าม ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยบวก (Favorable) ต่อธุรกิจคลินิกเวช กรรมเสริมความงาม (Aesthetics) และชะลอวัย (Anti-aging) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของเชื้อไวรัส Covid-19 คนไทยเลือกที่จะใส่หน้ากากอนามัย (Mask) เพื่อป้องกันตัวเอง ซึ่งการสวมหน้ากากเป็นเวลานานอาจนำไปสู่การแพ้ (Allergy) ผิวหนังและเกิดสิว (Acne) เพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างโอกาสความต้องการ (Demand) ใช้บริการของคลินิกเวชกรรมเสริมความงามสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจเสริมความงามของโลก (Global) มีแนวโน้มเติบโต (Trend) ได้ดี ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ตามรายงานของEuromonitor International แต่อย่างไรก็ตาม คนไทยยังคงมีภาวะกังวล (Concern) หรือหวาดระแวง (Worry) ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีประกาศยกเลิกมาตรการปิดเมือง (Lock-down) แล้ว จำนวนผู้มาใช้บริการก็อาจยังคงไม่กล้าเข้ามาใช้บริการที่คลินิก เหมือนช่วงสถานการณ์ปกรติ ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันการติด (Infection prevention) ที่เหมาะสมก็ตาม
(4) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technological Factors) ส่งผลกระทบต่อโอกาส (Opportunity)ทางธุรกิจ เช่น นานานวัตกรรม (Innovation) ที่เกิดขึ้น, การวิจัย (Research) และพัฒนา (Development) ต่างๆ, การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี, การรับรู้ (Awareness) ในเทคโนโลยี, ระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation), การเข้ามาของดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) เป็นต้น ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า (Advanced) มาก เครื่องมือแพทย์ (Medical device) ที่ใช้ในการให้บริการเสริมความงามและชะลอวัยที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่นั้น มีประสิทธิภาพ (Efficiency) สูงขึ้น เช่น เครื่องมือแพทย์ที่ช่วยในการยกกระชับ (Firm) ใบหน้าและสัดส่วนร่างกาย (Figure) ส่งผลให้ผู้ใช้บริการสามารถรู้สึก (Feel) ได้ ถึงการเปลี่ยนแปลงภายหลังการใช้บริการอย่างรวดเร็ว จึงเป็นจุดเด่น (Unique) ในเรื่องของผลลัพธ์ที่สามารถจับต้องได้ในเวลาอันสั้น และเกิดความเชื่อมั่น (Confidence) ในการใช้บริการ เช่น เครื่องเลเซอร์ (Laser), เครื่องพลังงาน (Energy), คลื่นเสียงอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound), เครื่องฉายแสงรักษา (Therapeutic radiation) เป็นต้น อีกทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังส่งเสริม (Promote) ในการคิดค้น (Invention) และผลิตยา (Pharmaceutical) ที่ใช้ในด้านเสริมความงามและชะลอวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ยาควบคุมพิเศษในการลดริ้วรอยเหี่ยวย่น (Wrinkle) บนใบหน้า เช่น โบท็อกซ์ (Botox) หรือฟิลเลอร์ (Filler) วิตามินและสารอาหารบำรุง (Nourish) ร่างกาย จากการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication) ทำให้เกิดระบบโทรเวชกรรม หรือการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพื่อให้การปรึกษาคำแนะนำแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ในกรอบแห่งความรู้ทางวิชาชีพเวชกรรม ตามภาวะวิสัย และพฤติการณ์ที่เป็นอยู่ ทั้งนี้โดยความรับผิดชอบ (Responsibility)) ของผู้ส่งผ่านหรือการสื่อสารเนื้อหาทางการแพทย์นั้นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนอย่างเปิดกว้างให้สามารถให้บริการ (Service providing) ผู้บริโภคที่อยู่ห่างไกล (Distant) จากพื้นที่การบริการ
(5) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors) การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อโอกาสทางธุรกิจ เช่น สภาพภูมิอากาศ (Climate), การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (Seasonal), สภาวะของโลก (Global condition) กฎระเบียบ (Regulation) และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) กลุ่มองค์กรที่มิใช่รัฐ (Non-government organization: NGO) ต่างๆ สรุปได้ดังนี้
แหล่งข้อมูล –
- https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190623 [2025, January 8].
- https://globescan.com/ [2025, January 8].