12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 45
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 28 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
ตลาดคลินิกเสริมความงาม (Aesthetics) และชะลอวัย (Anti-aging) มีแนวโน้ม (Trend) เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีจำนวนประชากร (Population) ประมาณ 66 ล้านคน แบ่งออกเป็นเป็นเด็ก (Children) 16.20%, วัยรุ่น (Adolescent) 12.82%, ผู้ใหญ่วัยทำงาน (Working adult) 44.64% และผู้สูงวัย (Elderly) 24.56%
จากสัดส่วน (Proportion) ประชากรของประเทศไทยจะเห็นว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใหญ่ในช่วงวัยทำงานสูงกว่าวัยรุ่นและวัยเด็กรวมกัน และแสดงว่าในอนาคต ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นกว่าประชากรวัยทำงาน หรืออัตราส่วน (Ratio) จำนวนประชากรในวัยทำงานจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด (Obviously) ซึ่งเป็นการย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society)
และจะส่งผลให้ (Result) ธุรกิจเสริมความงามและชะลอวัยมีช่องทาง (Channel) หรือโอกาส (Opportunity) ที่จะเติบโตได้จากฐานลูกค้า (Customer base) ที่มีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น (Cumulative) ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องพิจารณา (Consider) ถึงปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ (Uncontrollable) อันประกอบด้วย
- ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ทางการเมือง (Political) และเสถียรภาพ (Stability) ของรัฐบาล ที่มี สาเหตุสำคัญมาจากความไม่ตกผลึก (Crystallize) ทางความคิดที่จะยอมรับร่วมกันในกติกาทางการเมือง และความขัดแย้ง (Conflict) ของขั้วความคิดอุดมการณ์ (Ideology) ทางการเมืองและผลประโยชน์ (Interest) ที่เกิดขึ้น ทำให้นโยบายต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามอำนาจของฝ่ายการเมืองที่ปกครองอยู่ ซึ่งเป็นผลเสียต่อความเชื่อมั่น (Confidence) ของนักลงทุนต่างชาติ ที่ไม่สามารถคาดเดา (Expect) นโยบายสนับสนุนทางธุรกิจในระยะยาว (Long-term) ได้ และอาจเกิดความร้ายแรงจนกระทบต่อการตัดสินใจ (Decision-making) ม ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวได้
- การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 ที่อาจลุกลาม (Widespread) และส่งผลกระทบมากกว่าที่ประเมิน (Assess) ไว้ เนื่องจากไวรัสพัฒนาตัวเอง (Self-development) จนสามารถแพร่สู่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว (Vaccinated) ซึ่งอาจส่งผลให้ภาครัฐต้องกำหนดนโยบายพิเศษ (Special policy) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น
- พัฒนาการของภาวะการค้า (Trade condition) และการลงทุนโลก (Global investment) ซึ่งได้รับผลกระทบจากความ ขัดแย้ง (Conflict) ทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ที่ยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
- ความล่าช้า (Delay) ในการกระจาย (Distribution) วัคซีนให้ประชาชนไทย ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (Economic recovery) ต่ำกว่าที่พยากรณ์ไว้ และ
- พัฒนาการของตลาดแรงงาน (Labor market) และรายได้ครัวเรือน (Household income) ที่อาจใช้เวลาการฟื้นตัวนาน ซึ่งปัจจัยภายนอกเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมได้ อันจะส่งผลลบ (Unfavorable) ต่อธุรกิจคลินิกเวชกรรมเสริมความงามและชะลอวัย
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัย (Researcher) จึงมีความสนใจ ที่จะศึกษาเกี่ยวกับแผนธุรกิจสำหรับคลินิกเวชกรรมเสริมความงามและชะลอวัย ภายใต้ [และภายหลัง] สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจประเภทดังกล่าว เกิดทั้งโอกาสในการเติบโตและอุปสรรคที่แปลกใหม่ขึ้นพร้อมกัน (Simultaneously)
แหล่งข้อมูล –
- https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190623 [2024, November 27].
- https://globescan.com/ [2024, November 27].