12. คลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 44
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 14 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
ธุรกิจคลินิกเวชกรรมเสริมความงาม (Aesthetics) และชะลอวัย (Anti-aging) เป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ (Impact) จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้ต้องมีการปรับตัว (Adjustment) หรือปรับเปลี่ยน (Adapt) แผนทางการตลาด (Marketing plan) เพื่อให้สามารถอยู่รอด (Survive) และแข่งขันได้ (Competitive) ในตลาดภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่ปรกติ (Abnormal) ได้
ธุรกิจคลินิกเวชกรรมเสริมความงามและชะลอวัย ยังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยม (Popular) และเติบโตอย่างมาก (High growth) ในประเทศ ไทย ซึ่งปัจจุบันมีธุรกิจคลินิกเวชกรรมประเภทนี้อยู่ใน ประมาณ 3,000 – 4,000 แห่ง แบ่งออกเป็นทั้งขนาดใหญ่ เช่น โรงพยาบาลยันฮี และ โรงพยาบาลบางมด
คลินิกขนาดกลาง เช่น นิติพลคลินิก และ ธนพรคลินิก ส่วนธุรกิจขนาดเล็กจะเป็นคลินิกทั่วไปตามแหล่งชุมชน (Community) ซึ่งส่วนมากให้การบริการที่คล้ายคลึงกัน (Similar) คือ ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ (Medical consultation) รวมถึงการดูแลสภาพผิว (Skin care) โดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Cosmetics) อื่น ทำให้เกิดการแข่งขันกันสูงในกลุ่มธุรกิจนี้
เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างอุตสาหกรรม (Industrial structure) ของธุรกิจคลินิกเวชกรรมด้านนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นธุรกิจการบริการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง (Healthy) และดูเยาว์วัย (Young looking) ซึ่งหมายรวมถึงการดูแลสภาพผิวพรรณ, การดูแลลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Cosmetics) แต้มสีสัน (Colorful) ผลิตภัณฑ์ดูแลสภาพผม (Hair condition) ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว (Personal care) อื่นๆ
โดยไม่ได้เจาะจงเฉพาะแค่กลุ่มลูกค้าหญิง (Women) แต่เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงกลุ่มลูกค้าทุกเพศ (Gener) ทุกวัย (Age) ซึ่งจะมีรูปแบบการให้บริการ (Service model) หลากหลาย (Variety) รูปแบบ แบ่งเฉพาะเจาะจงตามกลุ่มเป้าหมายลูกค้า (Target group) เช่น ด้านการป้องกัน (Prevention) และชะลอความเสื่อมของร่างกาย (Anti-aging)
นอกจากนี้ ก็ยังมีเสริมความงามและความอ่อนเยาว์ (Youth) หรือ การบำบัดด้วยวิธีการธรรมชาติ (Natural therapy) โดยในการที่จะทำให้การบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction) หรือเป็นที่จดจำ (Memorable) และมีการบอกต่อกันการปากต่อปาก (Words of mouth)
ผู้ให้บริการ (Service provider) ต้องสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ของสินค้าและบริการของตนให้มีความโดดเด่น (Unique) และมีความคุ้มค่า (Cost-effective) ดึงดูด (Attract) ลูกค้าให้เลือกใช้บริการ โดยที่ต้องเกิดค่าใช้จ่ายภายในคลินิก ต่ำที่สุด หรือการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการของคลินิก ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการบริหารสายโซ่มูลค่า (Value chain) ตามแนวคิด (Concept) ของ Michael Porter ปรมาจารย์ (Guru) ด้านยุทธศาสตร์การแข่งขัน (Competitive Strategy)
จากการศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก (External environment) ระดับอุตสาหกรรมของธุรกิจคลินิกเวชกรรม เสริมความงามและชะลอวัยนั้น ยังมีโอกาสเติบโตได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เนื่องจากภาพรวมความต้องการ (Demand) เกี่ยวกับเวชกรรมเสริมความงามและชะลอวัยในอนาคตยังดีอยู่ (Favorable)
แหล่งข้อมูล –
- https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190623 [2024, November 13].
- https://globescan.com/ [2024, November 13].