12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 35

เมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ จั่วหัวข้อข่าวว่า

‘สุขภาพ-ความงาม’ มาแรงแห่งยุค คาด ปี ค.ศ. 2570 มูลค่าตลาด (Market) พุ่ง 2.48 แสนล้านบาท

อุตสาหกรรมความงามและสุขภาวะสมบูรณ์ (Wellness) แนวโน้มเติบโต หลังโควิด-19 หลายกิจการเดินหน้าขยายสาขา เทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ รับความต้องการ (Demand) ทั้งด้านศัลยกรรม (Surgery), แผนกผิวหนัง (Skin care) และสุขภาพ (Health) ตั้งเป้ารายได้ 2,000 กว่าล้านบาท เปิดครบ 50 สาขา ภายในสิ้นปีนี้

จุดเด่นในภาพรวม :

  • หลังการแพร่ระบาด (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 นอกจากตลาดศัลยกรรมความงาม (Cosmetic surgery) จะเติบโตมากขึ้นแล้วการที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพ (Health consciousness) ป้องกันก่อนรักษา ทำให้ตลาดสุขภาวะสมบูรณ์ (Wellness) เติบโตตามไปด้วย
  • ตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical tourism) ของโลกมีแนวโน้ม (Trend) เติบโตจาก 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 140 ล้านล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2563 เป็น 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 385 ล้านล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2568 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง +20.9%
  • ขณะเดียวกันมีการประเมิน (Assess) มูลค่าตลาดเสริมความงามคาดว่า ปี พ.ศ. 2570 ไทยจะแตะระดับ 51 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.63 แสนล้านบาท)

เทคโนโลยี, นวัตกรรม (Innovation) การแพทย์ รวมถึงความรู้ในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้คนหันมาดูแลสุขภาพ (Health consciousness) มากขึ้น ไม่เพียงแค่การดูแลจากภายนอก (External look) ให้ดูดีด้วยการศัลยกรรมทั้งผ่าตัดและไม่ผ่าตัด (Non-surgery) เท่านั้น แต่ยังดูแลสุขภาพจากภายใน (Internal care) หรือป้องกันก่อนที่จะป่วย ส่งผลให้ทั้งอุตสาหกรรมด้าน สุขภาวะสมบูรณ์และ ความงาม (Aesthetics) เติบโตมากขึ้น

สถาบันสุขภาวะโลก (Global Wellness Institute: GWI) ประเมินว่า ตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลกมีแนวโน้มเติบโตจาก 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 140 ล้านล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2563 เป็น 11 ล้านล้านเหรีญสหรัฐ (ประมาณ 385 ล้านล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2568

ตัวเลขนี้ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง +20.9% ต่อปีในช่วงปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2568 สำหรับตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย ปี พ.ศ. 2563 จัดอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก โดยมีการเติบโตต่อเนื่องทุกปี

ในปี พ.ศ. 2562 รายได้รวม (Overall revenue) จากธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5.6 แสนล้านบาท) เติบโตขึ้นจาก 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4.2 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2560 โดยคิดเป็นอัตราการเติบโตถึง +18.7%

ส่วนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไทยอยู่ในอันดับที่ 4 เป็นรองจากจีน, ญี่ปุ่น, และอินเดีย เมื่อดูในส่วนของกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ เพื่อเสริมความงาม (Aesthetics) ข้อมูลจาก Allied Market Research [บริษัทวิจัยตลาดระดับสากล] พบว่า กลุ่มนี้สร้างรายได้ (Revenue) ให้ไทยมากที่สุด

คาดว่า (Forecast) ในปี พ.ศ. 2570 จะมีมูลค่าตลาด (Market value) กว่า 5.86 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.05 แสนล้านบาท) คิดเป็น 24% ของมูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) ของประเทศไทย

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1064964 [2024, July 11].
  2. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/complementary-alternative-medicine/about/pac-20393581 [2024, July 11].