12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 34

สำหรับการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ (Medical hub) รองรับแนวโน้ม (Trend) สุขภาพของประเทศไทย ถือว่าดีอยู่ในระดับหนึ่ง เพราะมีสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล (International accreditation) อันได้แก่ Joint Commission International (JCI) 61 แห่งทั่วประเทศ มากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดิอาระเบีย, และบราซิล

ปัจจัยเชิงบวกโดยตรงในอนาคตก็คือ การพัฒนาด้านการแพทย์ (Clinical development) ปัจจัยเสริมคือการท่องเที่ยว (Tourism), ค่าครองชีพ (Cost of living) ที่ไม่สูงมากนัก และสิทธิพิเศษทางวีซ่าสำหรับต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาทางการแพทย์

“ทุกรัฐบาลในประเทศไทยมีความเห็นเรื่องการเป็น Medical Hub ที่ค่อนข้างตรงกัน แต่ควรค่อยเป็นค่อยไป (Gradually) เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) การให้คนรู้จากการบอกต่อ (Words of mouth) ดีกว่าการโฆษณา (Advertising) เราต้องใช้การแพทย์นำ ทำให้มีความปลอดภัยสูง พัฒนาคน พัฒนาคุณภาพ (Quality) และเครื่องมือให้ดีขึ้น”

อย่างไรก็ดี ก่อนเกิดการแพร่ระบาด (Pandemic) ของโควิด-19 ในช่วงปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีตัวเลขการใช้จ่ายเกี่ยวกับธุรกิจด้านสุขภาพ (Health expenditure) ประมาณ 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 91 ล้านล้านบาท )โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 10 - 15% ต่อปี กระทั่งเกิดวิกฤต (Crisis) ไวรัสโควิด-19 มูลค่าก็ลดลง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก (Global situation)

กระทั่งปี พ.ศ. 2566 สถานการณ์โดยรวมเริ่มดีขึ้น (Improve) และส่งผลให้ประเทศไทยมีรายได้กระเตื้องกลับมาอยู่ที่ประมาณ 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 101 ล้านล้านบาท) รวมทั้งมีชาวต่างชาติเดินทางเข้า (Foreign incomers) มาใช้บริการศูนย์สุขภาพ (Health centers) และสนใจธุรกิจการแพทย์ (Medical business) ในประเทศไทยมากขึ้น

กรรมการผู้จัดการ บมจ. พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) กล่าวว่า การเติบโตของธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (Geriatric) จะเป็นไปในทิศทาง (Direction) เดียวกัน เมื่อไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ. 2576 หรืออีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า 1 ใน 3 ของประชากรจะเป็นผู้สูงวัย ส่งผลให้ธุรกิจดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจะเติบโตราวปีละ 15 - 30% ต่อเนื่องใน 3 - 5 ปีนับจากนี้

ขณะที่ประเทศไทยไม่มีกระบวนการช่วยเหลือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด (Provincial) ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเอง (Self-assisted) ไม่ได้ และอยู่ในภาวะพึ่งพิง (Dependent) รวมถึงกลุ่มสูงอายุที่ยังไม่อยากเป็นภาระ (Burden) ของลูกหลาน จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความท้าทาย (Challenging) ในการให้บริการด้านดูแลสุขภาพ (Health service)

เพื่อรองรับการขยายตัวของประชาคมกลุ่มผู้สูงอายุ (Elderly community) บริษัทเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจธุรกิจดูแลผู้สูงอายุครบวงจร (One-stop service) นอกเหนือไปจากธุรกิจศูนย์ฟื้นฟู (Rehabilitation) ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ซึ่งจะมุ่งเน้น (Focus) กลุ่มผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องรับการฟื้นฟูเป็นหลัก ทำให้ภาพรวมในการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุครอบคลุม และเติมเต็มระบบนิเวศ (Eco-system)

แผนขยายกิจการเพิ่มจากเดิม 20 แห่ง ซึ่งยังไม่นับรวมการขยายสัมปทาน (Franchise) และการแสวงหาพันธมิตร (Alliance) ในการร่วมลงทุน (Joint venture) เพื่อขยายบริการให้กระจายไปยังจังหวัดเมืองรอง (Secondary) โดยเฉพาะในพื้นที่ที่โรงพยาบาลในเครือตั้งอยู่ เพื่อครอบคลุม (Cover) การให้บริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยในระยะยาว (Long-term care)

พร้อมกับการขับเคลื่อน (Drive) การขยายฐานผู้รับบริการ (Recipient base) เน้นเชื่อมโยงการให้บริการแบบไร้รอยต่อ (Seamless) ระหว่างโรงพยาบาลและคลินิกในเครือ (Network) เชื่อมโยงกับการเข้ารับบริการยังศูนย์ดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ขณะที่แผนระยะยาว บริษัทแสวงหาธุรกิจดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ ที่พร้อมให้การสนับสนุน

ตัวอย่างเช่น เครื่องมือแพทย์ (Medical devices), ยา (Drugs), และเวชภัณฑ์ (Medical supplies) ที่จะเข้ามาเติมเต็มระบบนิเวศ และเป็นตัวยกระดับคุณภาพ (Quality) การให้บริการด้วยนวัตกรรม (Innovation) การแพทย์และการควบคุมดูแลต้นทุน (Cost control) เพื่อให้ราคาเข้าถึงได้สำหรับคนไทยในเมืองรอง พร้อมบริการที่ได้มาตรฐาน (Standard) ที่ไม่แพ้เมืองหลัก (Primary)

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thansettakij.com/health/wellbeing/583958 [2024, June 26].
  2. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/complementary-alternative-medicine/about/pac-20393581 [2024, June 26].