12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 15

ผู้บริหาร (เจ้าของ) ต้องสำรวจ (Survey) ความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือน เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุง (Improve) สินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น รวมถึงนำมาจัดรายการส่งเสริมการขาย (Sales promotion) เพื่อจูงใจลูกค้าใหม่ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ส่วนฝ่ายบริการ (Service support) และทีมแพทย์ เน้นการบริการแก่ลูกค้าด้วยความใส่ใจและแนะนำ (Advise) สินค้าบริการด้วยความจริงใจ เพื่อผลประโยชน์สูงสุด (Maximum benefit) ของลูกค้า โดยไม่ให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกถูกบังคับจากการขายสินค้าไม่ตรงกับความต้องการและผลลัพธ์ (Out-come) ไม่ตรงกับที่กล่าวอ้างถึง (Claim)

ฝ่ายบริการมีการติดตาม (Follow up) ลูกค้าถึงผลลัพธ์หลังการใช้บริการ โดยผู้จัดการเป็นผู้ออกแบบคู่มือ (Manual) เพื่อเป็นแนวทาง (Guide-line) ในการตอบคำถามลูกค้า ให้พนักงานฝ่ายบริการในการใช้ปฏิบัติการ (Operation) เพื่อดูแลให้คำปรึกษาลูกค้าอย่างใกล้ชิด (Intimate) จนกลายเป็นลูกค้าประจำของคลินิก

หากมีปัญหาใดจากความไม่สบายใจของลูกค้า ฝ่ายบริการต้องปรึกษาผู้จัดการ, ทีมแพทย์, และผู้บริการถึงแนวทางการแก้ไขและรับมือ (Handle) เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะนำไปซึ่งความเสี่ยง (Risk) ที่จะสร้างความเสียหายต่อบริษัท

  1. การโฆษณา (Advertising) ผลิตภัณฑ์หรือบริการไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Requirement) ของหน่วยงานกำกับดูแล ในการประชาสัมพันธ์ (Publicity) เพื่อการทำการตลาดในช่องทาง (Channel) ต่างๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งบริษัทมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้อง (Law-suit) จากหน่วยงานที่กำกับดูแล หากมีการใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัท

คลินิกอาจโดนปรับ (Fined), สั่งพัก (Suspended), หรือถอน (Revoke) ใบอนุญาต แนวทางการบริหารความเสี่ยงของ ผู้บริหาร (เจ้าของ) จึงต้องกำชับพนักงานฝ่ายการตลาดให้ปฏิบัติตาม (Comply) ข้อกำหนด ของหน่วยงานรัฐ และส่งตัวอย่างข้อความที่จะโฆษณาไปยังหน่วยงานตรวจสอบ (Approve) ก่อนที่จะเผยแพร่โฆษณานั้นๆ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการโฆษณา มิให้ใช้ข้อความ หรือรูปภาพ โฆษณาโอ้อวดเกินความจริง (Over-claim) เช่น ดีที่สุด, แห่งแรก, แห่งเดียวในโลก, หายขาด, รับรองผล 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดส่งไปยังเจ้าของเพื่ออนุมัติทุกครั้ง

  1. เนื่องจากการรักษาในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ ไป อย่างรวดเร็ว และบริษัทไม่สามารถจัดหาเครื่องมือแพทย์ (Medical device) และอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical equipment) ที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และทันสมัย (Modern) มาใช้ในการรักษาคนไข้ได้

ผลที่ตามมา (Consequence) จะกระทบต่อจำนวนคนไข้ที่มารักษา ดังนั้น แนวทางในการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหารต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาของบริษัทอย่างต่อเนื่อง

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4256/1/TP%20050%202564.pdf [2023, September 18].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Market_risk [2023, September 18].