11. ตลาดคลินิกฟอกไต – ตอนที่ 41

มีการนำเสนอจุดแข็ง (Strength) ของตัวสินค้า แล้วสร้างกลยุทธ์ (Strategy) และทำการตลาด (Marketing) ในรูปแบบต่างๆ เพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้า (Customer base) เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ (Interest) และสร้างกลยุทธ์การตลาดในนานารูปแบบ จึงส่งผลให้ผู้บริโภคมีความภักดีต่อยี่ห้อ (Brand loyalty) ลดลง

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ธุรกิจผู้จำหน่ายเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนากลยุทธ์ การตลาด ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ (Objective) ของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป กลยุทธ์การตลาดจึงได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ (Apply) ทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive) ของธุรกิจ

ผู้วิจัย (Researcher) ได้ศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาด และนำไปสู่การศึกษารูปแบบ (Format) การตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product), การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer relationship: CR) ที่มีผลต่อการตัดสินใจ (Decision-making) ซื้อและความภักดีของลูกค้า (Customer loyalty) ต่อเครื่องไตเทียม

ทั้งนี้ เพื่อให้ธุรกิจและผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ เป็นแนวทางในการคิดค้น (Invent), สร้างสรรค์ (Creative), นำไปปรับปรุง (Improve), และพัฒนา (Develop) กิจกรรมการส่งเสริมการตลาด (Promotion) แบบผสมผสาน (Mix) จากการวิจัยที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการศึกษากลยุทธ์การตลาด แต่รูปแบบการศึกษายังไม่กว้างพอ (Broad)

โดยเฉพาะในด้านกลยุทธ์การตลาด, การจัดการลูกค้าสัมพันธ์เพื่อการตัดสินใจซื้อ, และความภักดีต่อตรายี่ห้อเครื่องไตเทียม กล่าวคือการวิจัยในเชิงลึกยังมีน้อย ดังนั้น วัตถุประสงค์การวิจัยในครั้งนี้ มี 4 ประการ อันได้แก่

  1. เพื่อวิเคราะห์ (Analyze) กลยุทธ์การตลาดที่ทรงอิทธิพล (Influence) ต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าในเครื่องไตเทียมในประเทศไทย
  2. เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดที่ทรงอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าในเครื่องไตเทียมในประเทศไทย
  3. เพื่อวิเคราะห์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CR Management: CRM) ที่ทรงอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในเรื่องเครื่องไตเทียมในประเทศไทย
  4. เพื่อวิเคราะห์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ทรงอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าในเครื่องไตเทียมในประเทศไทย

สำหรับระเบียบวิธี (Methodology) ในการวิจัยนั้น ผู้วิจัยเลือกศึกษาข้อมูลจากผู้ที่ตัดสินใจซื้อเครื่องไตเทียม อันได้แก่ (1) แพทย์ (2) พยาบาล (3) ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของศูนย์ (Center) ไตเทียม ในประเทศไทยจากศูนย์ไตเทียมทั่วประเทศ จำนวน 800 แห่ง (ที่่ลงทะเบียนเป็นสถานพยาบาลฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่สำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) กำหนด

โดยกำหนดขั้นตอน (Procedure) กลุ่มตัวอย่าง (Sample) เป็นการสุ่มอย่างง่าย (Random) จำนวน 10 แห่งและเก็บแบบสอบถาม (Questionnaire) ศูนย์ละ 40 ชุด ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขนาด (Size) ของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร (Formula) ของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่น (Confidence level) 95%

โดยกำาหนดค่าความคลาดเคลื่อน (Error) ที่ยอมรับได้ 5% จำนวน 260 คนตามที่เงื่อนไข (Condition) กำหนด  ในการวิจัยครั้งนี้เก็บแบบสอบถามจำนวน 400 ชุดโดยแบ่งเป็นศูนย์ไตเทียม 3 แห่งแรก ดังนี้

  1. มงกุฎวัฒนะ
  2. แพทย์รังสิต
  3. สายไหม

แหล่งข้อมูล

  1. file:///C:/Users/user/Downloads/24+%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.pdf [2024, October 1].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Hemodialysis [2024, October 1].