11. ตลาดคลินิกฟอกไต – ตอนที่ 40
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 18 กันยายน 2567
- Tweet
จากการที่สถานการณ์โรคไต (Renal disease) ในปัจจุบันที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก (Global) ในประเทศสหรัฐอเมริกามี จำ นวนผู้ป่วยโรคไตวาย (Kidney failure) เรื้อรัง (Chronic) ระยะสุดท้าย (Terminal) ที่กำลังได้รับการทดแทน (Replacement) ไต จากปี ค.ศ. 2000 มีจำนวน 340,000 ราย ได้เพิ่มเป็น 817,100 รายเมื่อปี ค.ศ. 2009
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการทดแทนไต เพิ่มขึ้นในทุกปี พบว่าเกิดสาเหตุการเสียชีวิต อันดับที่ 9 ของประเทศ จากข้อมูลของมูลนิธิไตแห่งชาติ โรคไตเรื้อรังจึงเป็นปัญหาสาธารณสุข (Public health) ที่สำคัญของประเทศต่างๆ ทั่วโลก (Worldwide) โดยเฉพาะในระยะสุดท้าย (End stage)
โรคไต เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน (Suffering) แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมากและเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่อง (Continuous care) ปัจจุบัน ในประเทศไทย ก็มีจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเพิ่มมากขึ้น และส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ (Elderly)
จากข้อมูลออนไลน์ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (Policy and Strategy) สำนักงานปลัด (Under-secretary) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าอุบัติการณ์ (Incident) ของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีแนวโน้ม (Trend) เพิ่มสูงขึ้นเท่ากับ 35,944 คนและ 117,377 คน ในปี พ.ศ. 2557 และ 2558 ตามลำดับ
และจากข้อมูลการคัดกรอง (Screen) ผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Diabetes) และความดันโลหิตสูง (Hypertension) ในจังหวัดนราธิวาสพบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน (Complication) ทางไตและมีแนวโน้มของการเกิดโรคไตเรื้อรัง สูงขึ้นในปี พ.ศ.2557 ถึง พ.ศ. 2558มีจำนวน 19,932 คน และ 20,659 คน ตามลำดับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 ถึง 5 ที่ต้องให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2558 มี จำนวนมากถึง 6,031 คน หรือมีจำนวนที่สำรวจ (Survey) ได้ปีละประมาณ 4 ถึง 6 พันคนจาก ผู้ป่วยจากจำนวนผู้ป่วยที่พบทั้งหมดทั่วประเทศ (Country-wide)
จากข้อมูลทางสถิติ (Statistics) การเกิดโรคไตเรื้อรังข้างต้นนั้น คาดการณ์ได้ (Forecast) ว่าในประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เป็นระยะสุดท้ายที่เพิ่มมากขึ้น และมีผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis: HD) มีจำนวนมากขึ้น
อันที่จริง การวิวัฒนาเพื่อรักษาไตวาย มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1854 แต่ไตเทียมเครื่องแรก เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1913 โดยได้มีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ให้แก่ผู้ป่วยเป็นครั้งแรกใน ค.ศ.1924 แล้วได้มีพัฒนาการมาตลอด ด้วยผลลัพธ์ (Outcome) ที่ดี (Favorable) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย (Popular)
วิธีนี้เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) สูง ที่ช่วยลดการคั่ง (Congestion) ของของเสีย (Waste), น้ำ, และเกลือแร่ (Mineral) ต่างๆ ในร่างกายได้ในระยะเวลาค่อนข้างรวดเร็ว (Fast) ในประเทศไทยจึงได้รับความนิยมและความภักดี (Loyalty) จากผู้ป่วยโรคไตเป็นจำนวนมาก
จากการศึกษาข้อมูลการตลาดของธุรกิจจำหน่ายเครื่องไตเทียม พบว่ามีการขยายตัวของธุรกิจสูงและภาวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (Industry competitiveness) เป็นผลมาจากการส่งเสริมการตลาด (Marketing promotion) ของผู้ประกอบการ (Entrepreneur) อีกทั้งยังมีคู่แข่งรายใหม่ (New comer) และสินค้าต่างออกผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนอง (Respond) ความต้องการ (Demand) ของลูกค้ามากขึ้น
แหล่งข้อมูล –
- file:///C:/Users/user/Downloads/24+%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.pdf [2024, September 17].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Hemodialysis [2024, September 17].