13. ตลาดคลินิกทันตกรรม – ตอนที่ 42

ทันตแพทย์ทุกคน เวลาทำฟันให้คนไข้ ย่อมอยากทำฟันและบริการให้ดีที่สุด เพราะนั่นเป็นสิ่งเดียวในฐานะทันตแพทย์ที่จะผูกใจคนไข้ให้เกิดความประทับใจ (Impression) และอยากมาซ้ำ (Revisit) และบอกต่อ (Words of mouth) ถ้าทันตแพทย์ฟันทุกคนทำฟันดีเหมือนกันหมด คนไข้จะเลือก (Choose) ไปรักษาคลินิกไหนล่ะ

ในวันนี้ ลูกค้าหรือคนไข้มีตัวเลือก (Alternative) เต็มไปหมด แค่ทำฟันให้ดีย่อมไม่เพียงพอที่จะสร้างฐานลูกค้า (Customer base) อีกต่อไป

ในด้านความสามารถ ทันตแพทย์จะปิดประกาศ (Post) คุณสมบัติ (Qualification) รวมทั้งพื้นฐานการศึกษา (Educational background) จากหลักสูตรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเต็มไปหมด ส่วนมากในการทำงานบนเส้นทางวิชาชีพ (Professional path) ทางทันตแพทย์ถึงจุดหนึ่ง ก็ล้วนจะเก่งขึ้นทั้งนั้น (ถ้าไม่ทิ้งการติดตามความรู้วิชาการ [Academic] และการฝึกปฏิบัติ [Practice])

นอกจากการทำฟันดี ปัจจัยที่ทำให้คนไข้อยากเลือกสถานบริการ (Service place) ย่อมมีอีกหลายปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้การทำฟัน ดังต่อไปนี้

    1. การเดินทาง (Travel) ที่สะดวกสบาย (Convenient) ประหยัดเวลา (Time-saving)
    2. การรักษาที่เร็ว (Fast treatment), ไม่เจ็บ, และได้ดังที่ต้องการ
    3. การบริการที่ดีเยี่ยม (Excellent)
    4. ความมั่นใจ (Confidence) และการเป็นที่รู้จักคุ้นเคย (Accustomed) เช่น ชื่อเสียง (Reputation) และยี่ห้อ (Brand)
    5. ราคาที่เหมาะสม (Reasonable) และคุ้มค่า (Cost-effective)
    6. การเป็นอันดับหนึ่ง และอยู่มายาวนาน (Long-lasting)

การแข่งขัน (Competition) ในวงการทันตกรรมเอกชน (Private) ยุคนี้และยุคต่อๆ ไป ย่อมสูงขึ้นและรุนแรงมาก (Fiercely) ขึ้น การพัฒนาทุกส่วนบริการ (Service development) ให้ดีขึ้นย่อมเป็นทางรอด (Survival) คลินิกดั้งเดิม (Traditional) หลายแห่งที่เคยทำยอดได้อย่างงามกับการทำฟันให้ดี ตอนนี้ก็เผชิญ (Confront) ผลกระทบ (Effect) จากการคลินิกน้องใหม่ (New comers)เข้าแย่งส่วนแบ่งตลาด (Market share)

สรุปแล้ว “การทำฟันให้ดีแล้วจะประสบความสำเร็จเองจากปากต่อปาก” จึงไม่ใช่เส้นทางที่จะเดินตาม (Follow through) ได้ในยุคนี้และยุคต่อๆ ไปอีกแล้ว เพราะโลกเปลี่ยนไปแล้ว

  1. คลินิกทันตกรรมเอกชน ไม่ควรเป็นธุรกิจ (เกินไป)

คลินิกเอกชน (Private) จะไม่เหมือนโรงพยาบาลรัฐ (Public) ที่สามารถขาดทุนได้ หรือ มีเงินจากภาษีมาอุดหนุน (Subsidy)

ในมุม (Perspective) ของการรักษา (Treatment) คลินิกเอกชนก็ไม่ต่างจากโรงพยาบาลรัฐที่ต้องให้บริการตามหลักการแพทย์ทุกประการ แต่ในแง่งมุมของการบริหารการเงิน (Financial) คลินิกจะต้องบริหารให้มีกำไร (Profitable) ไม่ขาดทุน

เดือนๆ หนึ่ง มีค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed) ไม่ว่าจะเป็น . . .

แหล่งข้อมูล

  1. http://dentalbusinessblog.com/การตลาด-คลินิกทันตกรรม [2024, September 19].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Services_marketing [2024, September 19].