
9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 55
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 14 เมษายน 2568
- Tweet
นอกจากนี้ กลุ่มที่มีรายได้สูง (High incomers) ยังต้องการได้รับประสบการณ์ (Experience) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการให้บริการด้านสุขภาพที่ดีขึ้น (Improved service) อย่างเช่น ประเทศจีนที่ปัจจุบันกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 10 ล้านคนต่อปี และรายได้ของประชากรในกลุ่มชนชั้นกลางช่วยกระตุ้น (Stimulate) การใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลด้วย
เป็นที่คาดการณ์ (Forecast) กันว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Healthcare expenditure) ของคนจีนจะขยับเพดาน (Ceiling) ไปถึง 3,490 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 115,170 ล้านบาท) ขณะที่เมื่อปี ค.ศ. 2015 อยู่ที่เพียง 1,380 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 115,170 ล้านบาท)
การระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 มีผลผลักดัน (Drive) ให้การดูแลสุขภาพกลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผลการสำรวจของ Bain & Company ของสหรัฐอเมริกา [บริษัทวิจัยระดับสากล] พบว่า วิกฤต (Crisis) โควิดทำให้ประชากรผู้ใหญ่ (Adult population) เกือบครึ่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific: APAC) เต็มใจที่จะใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น
ตัวกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์ (Medical industry) และสุขภาพอีกส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของแต่ละรัฐบาล (Government policy) เช่น โครงการ Healthy China 2030 ของจีนที่ตั้งเป้า (Target) ขยายขนาดของอุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพถึง 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 79.2 ล้านล้านบาท ภายในปี ค.ศ. 2030
ตัวเลขดังกล่าว เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี (Decade) เท่านั้น ส่วนตลาดการดูแลสุขภาพของอินเดียเติบโตขึ้นมากกว่า 20% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยหลัก (Major factors) มาจากการที่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนสูงขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมยา (Pharmaceutical industry) และสุขภาพขยายตัวต่อเนื่องพร้อมกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี
แนวโน้มการใช้บริการ Single Touchpoint
บริษัท Bain & Company สำรวจ (Survey) ความเห็นของผู้บริโภค 2,300 ราย ภายในกลุ่มประเทศ APAC (ซึ่งรวมออสเตรเลีย, จีน, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, และเวียดนาม) เมื่อปลายปี ค.ศ. 2023 เพื่อประเมินแนวโน้มการบริโภคด้านการดูแลสุขภาพที่เน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง (Consumer-centric)
ผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคไม่ต้องการใช้บริการดูแลสุขภาพแนวเดิมๆ ที่พวกเขาได้ ซึ่งเป็นฝ่ายตั้งรับ (Reactive) เป็นส่วนใหญ่จากข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ตามสถานพยาบาลเป็นหลัก โดยเปลี่ยนวิธีการมาเป็นการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง (Self-care) แสวงหาประสบการณ์ที่ดีกว่าจากหลายช่องทางที่สะดวก (Convenient channel) กว่า
ผู้บริโภคต้องการมีปฏิสัมพันธ์ (Interface) กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพียงจุดเดียวครบวงจร (Single touchpoint ) ตั้งแต่การพิจารณาตัดสินใจ (Decision-making) เลือกใช้บริการ มีการเจรจา (Negotiation) เพื่อให้ได้รับความมั่นใจ (Confidence) และความพึงพอใจ (Satisfaction) ในบริการ
รวมทั้งบริการต่อเนื่องที่จะตามมา (Consequent service) พวกเขาเต็มใจที่จะใช้จ่าย (Willing to pay) ด้านสุขภาพมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องไปรับบริการจากโรงพยาบาลที่ต้องรอคอย (Queue) กันอย่างยาวนานอีกต่อไป
แหล่งข้อมูล –
- http://www.medi.co.th/news_detail.php?q_id=420 [2025, April 13].
- https://en.wikiversity.org/wiki/Telemedicine [2025, April 13].