9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 54

เมดิคอลไทม์ ออนไลน์ รายงาน อนาคตของ Telemedicine ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

แม้ว่าเวลานี้ระบบเศรษฐกิจโลก (Global economy) โดยรวมยังคงสั่นคลอน (Shaky) และไม่มีเสถียรภาพ (Instable) ดีพอ ท่ามกลางสงครามยืดเยื้อ (Prolonged) ในแถบตะวันออกกลางและในประเทศยูเครน แต่อุตสาหกรรมการแพทย์ (Medical industry) ยังคงเติบโตและขับเคลื่อน (Drive) อย่างต่อเนื่องด้วยนวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีใหม่ๆ

อันรวมไปถึงการให้บริการดูแลสุขภาพทางไกล (Telehealth) โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ในด้านนี้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific: APAC) ได้รับการพยากรณ์ (Forecast) ว่าจะมีศักยภาพ (Potential) เติบโตอย่างแข็งแกร่ง (Robust) ต่อเนื่อง นับตั้งแต่สิ้นสุดวิกฤต (Crisis) ของไวรัสโควิด-19

ภาพรวมของตลาดการแพทย์ทางไกล ใน APAC

ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบไปด้วย 51 ประเทศ กับ 7 เขตปกครอง ครอบคลุม (Cover) กลุ่มประเทศทั้ง 2 ฟากฝั่ง (Coast) ของมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งเอเชีย, อเมริกาเหนือ, และอเมริกาใต้ มีประชากร (Population) รวมแล้วเกือบ 2 ใน 3 ของประชากรโลก และถือเป็นภูมิภาค (Region) ที่เติบโตเร็วที่สุดในด้านการใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare expenditure)

ผู้บริโภคในภูมิภาค (Consumer) นี้หันมาดูแลสุขภาพในเชิงรุก (Proactive) มากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย (Healthy) และความเป็นอยู่ (Well-being) ที่ดีขึ้น วิถีการใช้ชีวิต (Lifestyle) ด้านการดูแลสุขภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริมกลยุทธ์ (Promotion strategy) ทางการตลาดด้านสุขภาพ (Health marketing)

บริษัท Halodoc ผู้ให้บริการข้อมูลและเทคโนโลยีด้านสุขภาพระดับชั้นนำ (Leading) ของอินโดนีเซีย สำรวจความเห็นของประชาชนในกลุ่ม APAC พบว่า 85% ของผู้ตอบแบบสอบถาม (Questionnaire) สนใจการดูแลสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างจริงจัง

ขณะที่ความต้องการ (Demand) ด้านอุปกรณ์ดิจิทัล สำหรับตรวจสุขภาพส่วนตัว (Personal check-up) เพิ่มขึ้น เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart watch), ระบบติดตามการนอนหลับ (Sleep tracking), ระบบติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ (Pulse monitor)เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับราคาของอุปกรณ์ Telehealth เหล่านี้เริ่มจับต้องได้ (Tangible) มากขึ้น

ตัวอย่างเช่นยี่ห้อ Noise ของอินเดีย จำหน่ายนาฬิกาอัจฉริยะ ในราคาเพียง 10 ถึง 12 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 350 - 420 บาท) เท่านั้น ผู้บริโภคใน APAC ยังคาดหวังที่จะได้รับบริการด้านการรักษาพยาบาล (Healthcare service) ที่สะดวก (Convenience) และหลากหลายช่องทาง (Multiple channels) มากขึ้น

พวกเขากระตือรือร้นแสวงหา (Actively seek) ผู้ให้บริการ (Provider) ด้านสุขภาพและบริการที่เข้าถึงได้ง่าย (Accessible) มีระบบที่ยืดหยุ่น (Flexible) และปรับให้สอดคล้อง (Align) กับความต้องการเฉพาะ (Specific want) ของพวกเขาได้ดี

ผลสำรวจ (Survey) ของ Halodoc ระบุว่า 51% ของผู้บริโภคที่ได้รับการสำรวจในกลุ่มประเทศ APAC เต็มใจจะเสียค่าใช้จ่าย (Willing to pay) ด้านสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่น Gen Z ที่สนใจการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive health) มากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้รับความสนใจเป็นพิเศษ 

แหล่งข้อมูล

  1. http://www.medi.co.th/news_detail.php?q_id=420 [2025, March 30].
  2. https://en.wikiversity.org/wiki/Telemedicine [2025, March 30].