9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 41

ด้วยเหตุนี้บนเงื่อนไข (Condition) ดังกล่าว ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ (Center of Economic Analysis) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) จึงประเมินศักยภาพ (Potential) ของการเข้ารับการรักษาพยาบาลผ่านรูปแบบ (Model) การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในปี พ.ศ. 2566 ได้ช่วยเพิ่มจำนวนการเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยนอก (Outpatient) ได้

วิธีนี้จะตอบโจทย์จากความสะดวก (Convenience) ที่ผู้เข้ารับบริการไม่ต้องเสียต้นทุนแฝง (Hidden cost) อื่น ๆ เช่น ค่าเดินทาง(Travel expense) และการลางาน (Absence from work) ที่อาจกระทบ (Impact) ต่อผลการประเมิน (Assess) ประสิทธิภาพ (Efficiency) งานในแต่ละปี 

ดังนั้น จึงทำให้เพิ่มโอกาส (Opportunity) การเข้ารับบริการทางการแพทย์ (Medical service) ประมาณ 15 ถึง 20% หรือ 7 ถึง 8 ครั้งต่อปี จากเดิมที่มีการเข้ารับบริการเพียง 5 ถึง 6 ครั้งต่อปี และคาดว่า (Forecast) จะช่วยสร้างเม็ดเงินให้กับอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชน (Private-hospital industry) ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4,000 ถึง 6,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ รูปแบบการให้บริการในการดูแลรักษาผ่านการแพทย์ทางไกล ยังคงมีศักยภาพสูงในการขยายตัว (Expansion) บนมิติ (Dimension) ต่างๆ ตามช่วงระยะเวลา (Timeline) ดังนี้

  1. การขยายตัวในแนวดิ่ง (Vertical) ผ่านการข้ามผลิตภัณฑ์ (Cross-product) เช่น การให้บริการการแพทย์ทางไกล ในการรักษาที่ไม่ต้องทำหัตถการ (Procedure) โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องการการรักษาบำบัดด้านความเครียด (Stress therapy) ที่มีจำนวนมากขึ้นในระยะหลัง ซึ่งสอดคล้องกับข้อได้เปรียบ (Advantage) ของการให้บริการผ่าน การแพทย์ทางไกล ในมิติของความสะดวก (Convenience) ด้านเวลาและความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี
  2. การขยายตัวในแนวนอน (Horizontal) เมื่อผู้ให้บริการมีความพร้อม (Readiness) สูงขึ้นจนสามารถเข้าสู่ระยะเติบโต (Growth stage) โดยขยายการบริการให้ครอบคลุม (Cover) มากขึ้น เช่น การบริการตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติทางการแพทย์ (Laboratory test) ถึงสถานที่พักอาศัย (Residence)
  3. การเข้าสู่ระยะการเติบโตในอัตราเร่ง (Accelerate) ศักยภาพ (Potential) ของบริการการแพทย์ทางไกล ที่ครอบคลุมมากขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มโอกาสการขยายบริการเข้าสู่กลุ่มผู้รับบริการที่เป็นผู้ป่วยนอก ซึ่งนอกเหนือจากประกันสุขภาพกลุ่ม (Group health insurance) แล้ว เมื่อระบบการแพทย์ทางไกล สามารถพัฒนาถึงการครอบคลุมกลุ่มผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพทั่วหน้า (Universal coverage หรือ บัตรทอง (Gold card) หรือ กลุ่มผู้ป่วยประกันสังคม (Social security) ได้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการยกระดับ (Raise) ศักยภาพระบบสาธารณสุข (Public health system) ของประเทศไทย เนื่องจาก ปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐหลายแห่งมีจำนวนผู้ป่วยหนาแน่น (Congestion) เกินศักยภาพที่รองรับได้จนเกิดปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากร (Resource allocation) ได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งหากระบบการแพทย์ทางไกล สามารถลดจำนวนผู้ป่วยโดยเฉพาะในกลุ่มเจ็บป่วยเล็กน้อย (Minor illnesses) และกลุ่มติดตามอาการ (Follow-up) ครอบคลุมทุกสิทธิ์ชดเชย (Claim reimbursement) การรักษาจะเป็นการช่วยลดความหนาแน่นของผู้ป่วยในแต่ละโรงพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรในการดูแลรักษาสุขภาพของผู้เข้ารับบริการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ในภาพรวม (Overall) ของธุรกิจสุขภาพไทย การแพทย์ทางไกลจะเป็นปัจจัยพลิกโฉม (Transform) รองรับผู้ป่วยนอกได้ดีขึ้น โดยปี พ.ศ. 2566 ได้เริ่มขับเคลื่อน (Drive) ผ่านระบบประกันสุขภาพกลุ่มเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพไปสู่การให้บริการกับกลุ่มคนอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้ ยังทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การขนส่ง (Logistics) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology) ขยายตัวรองรับการเติบโตด้วยเช่นกัน

 แหล่งข้อมูล

  1. https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/telemedicine-2566 [2024, September 29].
  2. https://www.fitchsolutions.com/bmi/topics/megatrends [2024, September 29].