9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 39

ทั้งนี้ สิ่งที่เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ต้องให้ความสำคัญอย่างมากคือการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัว (Individual) ที่เป็นความลับ (Confidential) ของผู้ป่วย ตามข้อบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA)

ในส่วนของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก็ได้เตรียมพร้อมทั้งบุคลากร (Staff), การออกแบบขั้นตอนหรือเส้นทางสัญจร (Journey) ของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App), ระบบรักษาความปลอดภัย (Safety measure), ถังเก็บข้อมูล (Data storage) อยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสำรอง (Back up) บนอากาศ (Cloud) ที่อยู่ภายในประทศ โดยมีวัตถุประสงค์ให้การดูแลรักษาข้อมูลของผู้ป่วยด้วยความมั่นคงปลอดภัยสูงสุด (Maximum security)

แนวทางพัฒนา Telemedicine ขั้นต่อไป นอกจากตัว App แล้ว สิ่งที่น่าสนใจคือการพัฒนาเครื่องมือดิจิทัล (Digital device) ต่างๆ เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart watch) ที่สามารถเก็บข้อมูลสุขภาพ (Health data) เช่น การเต้นของหัวใจ (Heart beat) ได้ ในเวลาจริง (Real time)

คำถามสำคัญก็คือ ทำอย่างไรจึงจะให้ข้อมูลเหล่านี้ เชื่อมโยง (Connect) กับข้อมูลในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล (Hospital information system) ก่อนที่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ แล้วยังรวมไปถึงเรื่องของการเชื่อมต่อ (Connectivity) กับอินเทอร์เน็ต และความกว้างแถบความถี่ (Bandwidth) ที่จะช่วยให้การเชื่อมต่อเครื่องมือแพทย์ (Medical device) และการเชื่อมโยงข้อมูลให้ลื่นไหล (Smooth flow) สะดวกขึ้น

ที่สำคัญคือการพัฒนาตัวซอฟท์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) มาเป็นผู้ช่วยแพทย์ (Physician assistant: PA) ในการจัดการข้อมูลดิจิทัลทางสุขภาพต่างๆ ทั้งการป้อนข้อมูลเข้า (Data input), การประมวลวิเคราะห์ (Analytic processing), และการได้ผลลัพธ์ (Output) เป็นผลวินิจฉัยโรค (Diagnosis)

ในภาพรวม (Overall) ยังมีช่องว่างให้พัฒนา (Develop) ได้อีกมาก และที่ลืมไม่ได้คือพื้นที่การจัดเก็บ (Storage) ข้อมูลผู้ป่วยจำนวนมหาศาลที่ควรต้องเป็นยกขึ้นบนอากาศ ที่อยู่ภายในประเทศ

เมื่อกล่าวถึงจุดที่เจ็บปวด (Pain point) ของการพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์ในไทย คือการขาดความเชื่อมั่น (Confidence) ในผลงานวิจัย (Research) ของตัวเอง ทำให้นำไปสร้างการผลิต (Production) ไม่ได้ นักลงทุน (Investor) ก็ไม่กล้าลงทุน

ยกตัวอย่างเช่น การวิจัยวัคซีน (Vaccine) ป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่ประเทศไทยได้มีการวิจัยระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งถ้าจะมีการผลิตออกมาใช้จริง ต้องมีโรงงาน (Factory) เพื่อทำการผลิตให้คนไทยและประชากรโลก (Global population) ซึ่งตรงนี้จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อน (Drive) อย่างจริงจัง

ในวงการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นพันธมิตร (Alliance) กับทางมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีทั้งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แล้วยังรวมไปถึงคณะต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์, สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ, เป็นต้น ตลอดจนภาคธุรกิจ (Business sector) ที่เข้ามาสนับสนุน (Support) การพัฒนาในส่วนนี้ อันจะนำมาสู่ความเข้มแข็ง (Strength) ที่เกิดจากความร่วมมือ (Collaboration) ของคนไทย

บทสรุปก็คือ เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล จะได้ประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ต้องไม่ใช่เป็นการต่างคนต่างอยู่ แต่ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน เพื่อใช้ประเมินคัดกรอง (Screen) การเจ็บป่วยเบื้องต้น (Initial) ก่อนเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล และใช้โทรศัพท์อัจฉริยะให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Benefit maximization) ในการดูแลสุขภาพ (Health-care) ของประชาชนคนไทย

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/protect-my-family/telemedicine.html [2024, September 1].
  2. https://www.fitchsolutions.com/bmi//topics/megatrends [2024, September 1].