9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 38

การสื่อสารในยุคดิจิทัล (Digital) ที่ก่อให้เกิดข้อมูลมหาศาล (Big data) เปลี่ยนแปลงประสบการณ์ (Experience) ของผู้คนในทุกส่วนของสังคม รวมถึงการหาหมอเมื่อเจ็บป่วย ซึ่งต่อไปข้างหน้าภาพที่โรงพยาบาลรัฐ (Public hospital) ที่คลาคล่ำ (Mingle) ด้วยผู้ป่วยจำนวนากที่รอคิว (Queue) พบแพทย์ ก็อาจจะลดลง ด้วยการใช้การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เข้ามาเปลี่ยนประสบการณ์การพบแพทย์

ประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์ (Medical technology) มาโดยตลอด เช่น การผ่าตัดส่องกล้อง (Minimally invasive), การสอดท่อ (Intubation) ผ่าตัด, การรักษาด้วยรังสี (Radiation therapy) มีมานานกว่า 20 ปี และการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (Robotic surgery) ก็มีมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

จึงกล่าวได้ว่าการแพทย์ไทยมีความพร้อม (Readiness) มากกว่าประเทศใกล้เคียง (Neighboring country) ในภูมิภาคนี้ และเมื่อเกิดวิกฤตไวรัสโควิด-19 (Pandemic) สถานการณ์การแพร่ระบาดที่จำต้องมีการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ก็กลายมาเป็นตัวเร่ง (Accelerate) ให้ทุกภาคส่วนต้องนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ (Application)

ไม่ว่าจะเป็นสังคม (Society), ธุรกิจ, การสื่อสาร (Communication), รวมถึงเรื่องการแพทย์ (Medicine) ที่นำแนวคิดการแพทย์ทางไกล ซึ่งเคยใช้สื่อสารทางไกล เช่นการผ่าตัดข้ามประเทศ (Cross-country) มีแพทย์เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา (Consultation) ระหว่างผ่าตัดอยู่อีกประเทศหนี่ง มาใช้ในการดูแลผู้ป่วย โดยที่ทั้งหมอและผู้ป่วยก็อยู่ที่เดียวกัน

ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก (Severe outbreak) ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต้องหาทางดูแลผู้ป่วย (Patient care) ที่เข้ามาวันละ 300 ถึง 400 คน และป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial) ด้วยการให้ผู้ป่วยพบหมอผ่านทางหน้าจอ โดยใช้ระบบ Telecon ที่มีมาตรการดูแลความปลอดภัย (Safety measure) อย่างเคร่งครัด

และจากจุดนี้เองก็ได้พัฒนาเป็นการคุย (Chat-based) บนระบบ LINE Chat ชื่อ Chula Covid-19 และพัฒนาต่อมาเป็นระบบ App-based ชื่อ Chula Teleclinic และ Chula Care ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store [ของค่าย Apple]/Play Store [ของค่าย Google]

นอกจากนั้นในส่วนการของจ่ายยา (Drug dispensing) กรณีเป็นผู้ป่วยที่รับยาอย่างเดียว ก็จะจ่ายยาเพิ่มเผื่อไว้สัปดาห์หนึ่ง เพื่อขยายเวลาให้ผู้ป่วยเข้ามารับยาที่โรงพยาบาล หรือจ่ายยาทางไปรษณีย์ (Postal dispensing) โดยเลือกใช้ผู้บริการขนส่งที่มีระบบทำงานน่าเชื่อถือ สามารถระบุ (Identify) ผู้รับ (Recipient) และตรวจสอบ (Verify) รายละเอียดข้อมูลการส่งได้

ข้อดีของเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลนั้นเหมาะกับผู้ป่วยเก่ากลุ่มเพื่อติดตาม (Follow up) และกลุ่มเติมยา (Refill) ที่อาการไม่หนักและมีประวัติรักษา (Medical record) อยู่แล้ว สามารถใช้ช่องทางการแพทย์ทางไกลได้ เพราะเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวก (Convenience)

ผลลัพธ์ คือการลดระยะเวลา (Time), ลดการเดินทาง (Travel), รวมถึงลดความเสี่ยง (Risk) จากการสัมผัส (Contact) และลดความแออัด (Congestion) ในโรงพยาบาลได้ อันที่จจริง การนำเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล มาใช้เป็นการเปลี่ยนวัฒนธรรม (Cultural change)

ในการหาหมอของคนไทย ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งเป้าหมายให้คนเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) ช่องทางการแพทย์ทางไกล์ เพื่อลดจำนวนคนมาโรงพยาบาล 20% จาก 5,000 คนเหลือ 1,000 คน โดยภายใน 1 ปี อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าป่วยแล้วห้ามมาโรงพยาบาล แต่ใช้การแพทย์ทางไกล ในการคัดกรองวินิจฉัย (Screen) เบื้องต้น ซึ่งถ้าป่วยหนัก(Severely sick) ก็มาที่โรงพยาบาลได้เลย

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/protect-my-family/telemedicine.html [2024, August 18].
  2. https://www.fitchsolutions.com/bmi/topics/megatrends [2024, August 18].