จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 380: - ความหมายของอัจฉริยภาพ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-01

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 380: - ความหมายของอัจฉริยภาพ (2)

ทฤษฎีแรกที่สามารถนำมอธิบายอัจฉริยภาพ เรียกว่า ทฤษฎี 2 ปัจจัยของสเปียร์แมน (Spearman’s two-factor theory) ซึ่งกล่าวว่า อัจฉริยภาพของคนเรามี 2 ปัจจัย เริ่มจากปัจจัยความสามารถทางจิตใจทั่วไป “จี” (G = General) ซึ่งเป็นสิ่งที่นำเสนอเกี่ยวกับหน้าที่ทางสติปัญญาที่เกิดขึ้นทั่วไป และต่อมาปัจจัยเฉพาะทาง “เอส” (S = Specific) เกี่ยวข้องกับความสามารถเฉพาะทางในจิตใจ (เช่น คณิตศาสตร์, กลศาสตร์, และความสามารถทางการพูด)

สเปียร์แมนเชื่อว่า ปัจจัย G นำเสนอเกี่ยวกับพลังงานของจิตใจในตัวคนเรา ทุกวันนี้ความหมายของปัจจัย G คือ การวัดค่าโดยนำเสนอการปฏิบัติของแต่ละบุคคลในหลายมิติของความสามารถทางปัญญา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับรูปแบบของแบบทดสอบทางปัญญาสมัยใหม่จากปัจจัย G ทำให้กลายเป็นคะแนนแบบที่มีความเที่ยงตรง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของแบบทดสอบ IQ (IQ = Intelligence)

ทุกวันนี้นักจิตวิทยาหลายท่านเชื่อว่าปัจจัย G ที่สื่อผ่านคะแนนจากแบบทดสอบ IQ สามารถเป็นตัววัดค่าสติปัญญาของคนเราได้ดีและยังเชื่ออีกว่าปัจจัย G คือความหมายของสติปัญญาที่พบเห็นทั่วไป อันสามารถวัดค่าผ่านแบบทดสอบทาง IQ และแสดงผลลัพธ์แสดงให้เห็นเป็นรูปแบบของคะแนนที่ผู้สอบได้รับ ดังนั้นการเปรียบเทียบค่าสติปัญญาของบุคคลสามารถทำโดยการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบ IQ

การเรียงลำดับอัจฉริยภาพโดยใช้คะแนนจากแบบทดสอบ IQ อาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสตีฟ ลู (Steve Lue) ผู้มี IQ เท่ากับ 194, บิล เกตส์ (Bill Gates) ซึ่งมีเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเคยพูดไว้ว่า “บิล เกตส์ คือผู้ชายที่ฉลาดที่สุดตั้งแต่เขารู้จักมา”), และ เกร็ก คอกส์ (คนที่สามารถพูดได้ถึง 64 ภาษา)

อย่างไรก็ตาม วีนัส วิลเลียมส์ (Venus Williams) ผู้เป็นนักเทนนิสหญิงระดับโลก) และมิโดริ (Midori) ผู้เป็นอัจฉริยบุคคลทางด้านดนตรี อาจจะทำคะแนนได้สูงในแบบทดสอบ IQ หรือ พวกเขาอาจจะได้คะแนนน้อยเพราะความสามารถของพวกเขาจัดอยู่ในหมวดหมู่เฉพาะทาง เช่นความสามารถทางร่างกาย, ดนตรี, และความสามารถด้านการรับรู้

ข้อดีของปัจจัยจ G ก็คือ เป็นสิ่งที่มีความเที่ยงตรง ในการตีความหมายและวัดค่า โดยการใช้แบบทดสอบทาง IQ เป็นตัวสร้างผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบคะแนน ซึ่งสะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพทั่วไปของคนเรา และอีกข้อดีหนึ่งก็คือมันสามารถเป็นตัวคาดเดาที่ดีที่จะวัดประสิทธิภาพของคนในสถานที่ศึกษาและในบางอาชีพ

ส่วนข้อเสียหลักของปัจจัย G ก็คือมันยังคงเป็นสิ่งที่คนเราถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้ว่า มันสามารถเป็นตัววัดค่าสติปัญญาได้จริงไหม ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยคนหนึ่งกล่าวว่า “พวกเรารู้ว่าเราสามารถวัดค่าสติปัญญาของคนเราได้อย่างไร แต่พวกเราไม่สามารถรู้ได้ว่าพวกเรากำลังวัดค่าอะไรอยู่”

ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของปัจจัย G ก็คือ มันเน้นย้ำความสามารถทางปัญญาเช่นเดียวกับการวัดค่าสติปัญญาทั่วไป แต่ไม่ได้สนใจความสามารถประเภทอื่น เช่นความสามารถทางร่างกาย, การรับรู้, ดนตรี, การปฏิบัติ, หรือความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์

แหล่งข้อมูล

 

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022, July 23].
  3. Charles Spearman - https://en.wikipedia.org/wiki/Charles_Spearman, [2022 July 23]