จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 379: - ความหมายของอัจฉริยภาพ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-01

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 379: - ความหมายของอัจฉริยภาพ (1)

มีชายคนหนึ่ง ระลึกถึงความทรงจำวัยเด็กขณะที่เขานำรายงานคะแนนสอบกลับบ้าน ต่อมาพ่อแม่ของเขาได้ถามเขาว่า “ทำไมลูกถึงไม่ได้คะแนนเกรด 4 เหมือนกับพี่ชายล่ะ” เขาได้หยุดคิดสักครู่ แล้วตอบกลับไปว่า “พี่ชายอาจมีความฉลาดมากกว่าตัวผม ครับ”

หลังจากนั้นผู้ชายคนดังกล่าวได้ตั้งข้อสงสัยกับตัวเขาเองว่า เขามีความฉลาดเท่าไร เมื่อเขาได้ทดสอบเพื่อวัดระดับสติปัญญา (Intelligence quotient [IQ]  test) ในช่วงมัธยมศึกษา นักจิตวิทยาบอกกับเขาว่า “มันเป็นกฎของโรงเรียนที่ไม่สามารถเปิดเผยคะแนนสอบแบบชัดเจนให้กับนักเรียนได้” แต่เพื่อให้ความช่วยเหลือเขา นักจิตวิทยาผู้นั้นได้บอกว่า เขาอาจมีปัญหาในการเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา

ปัจจัยสำคัญของเรื่องราวข้างต้นก็คือ คนเราหลายคนต้องการค้นหาคำตอบระดับอัจฉริยภาพของตนเอง แต่การตีความหมายของระดับอัจฉริยภาพ ไม่ใช่สิ่งที่มีความแน่นอนหรือชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ความหมายส่วนบุคคลของอัจฉริยภาพสำหรับ 5 บุคคลสำคัญที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้

ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ ถ้าคนเรารู้สึกว่าการเรียงลำดับอัจฉริยภาพของ 5 บุคคลตัวอย่างเป็นเรื่องยาก สมาคมจิตวิทยาแห่งอเมริกา (American Psychological Association) ได้ทุ่มเทสรรพกำลัง เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามว่าคนเราสามารถตีความหมายและวัดค่าอัจฉริยภาพได้จากคะแนนจากแบบทดสอบทางสติปัญญา หรือไม่

ข้อถกเถียงอื่นๆ เกี่ยวกับความหมายของคำว่าอัจฉริยภาพ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสามารถทางปัญญา (Cognitive ability) เป็นมุมมองที่แคบเกินไป แทนที่คนเราควรจะเชื่อว่า อัจฉริยภาพมีอยู่หลายประเภทเช่น ความคิดสร้างสรรค์, ความคิดเชิงปฏิบัติ, ทักษะการจดจำทางกายภาพ, หรืออัจฉริยภาพเฉพาะด้าน เช่น ทางด้านกีฬาของ วีนัส วิลเลียมส์ (Venus Williams) และทางด้านดนตรีของมิโดริ (Midori)

ยังคงเป็นที่ถกเถียงจากบุคคลทั่วไปว่า ความหมายของคำว่าอัจฉริยภาพควรรวมถึงการศึกษาว่า คนเราสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น เกร็ก คอกส์ (Gregg Cox) สามารถเรียนรู้ได้ถึง 64 ภาษาและบิล เกตส์ สามารถสร้างระบบปฏิบัติการ (Operating system: OS) ในสั่งการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้

อันที่จริง ความหมายทั่วไปของคำว่าอัจฉริยภาพมีได้ 3 แบบตามทฤษฎี อาจเป็น (1) 2 ปัจจัย (Two-factor), (2) หลายปัจจัย (Multiple-factor), และ (3) ทฤษฎีความฉลาด 3 ด้าน (Triarchic theories of intelligence)

ในปี ค.ศ. 1904 ชาร์ลส สเปียร์แมน (Charles Spearman) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากสาขาวิชาสถิติ เช่น การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการเรียงลำดับ (Rank correlation coefficient) ได้รายงานว่า เขาสามารถวัดค่าอัจฉริยภาพได้ ด้วยหนทางที่เที่ยงตรง (Objective way) โดยที่เขาเป็นคนแรกที่นำแบบทดสอบเพื่อวัดค่าสติปัญญา (Psychometric approach) มาใช้ค้นหาจำนวนความสามารถทางสติปัญญาที่รวมถึงปัจจัยที่คนเราคิดว่าเกี่ยวข้องกับการแสดงผลลัพธ์ทางปัญญา

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022, July 16].
  3. Charles Spearman - https://en.wikipedia.org/wiki/Charles_Spearman [2022, July 16]