คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่มะเร็งไฝ

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่มะเร็งไฝ

มะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่มะเร็งไฝ ทั่วโลกมีรายงานในปีค.ศ. 2020 พบได้ 6.2% ของมะเร็งทุกชนิด พบทั้งสองเพศ พบสูงขึ้นเรื่อยๆตามอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป มะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่มะเร็งไฝ/มะเร็งเมลาโนมาชนิดพบบ่อยตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ Basal cell carcinoma, Squamous cell carcinoma, และ Merkel cell carcinoma  

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือผิวหนังได้รับแสงแดดโดยเฉพาะแสงแดดจัดเรื้อรัง เช่น อาชีพเกษตรกรรม การอาบแดดบ่อย  และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น

  • เป็นคนเชื้อชาติผิวขาว
  • มีผิวบาง เส้นผมสีอ่อน ตาสีฟ้า ตกกระอาจที่ใบหน้า หรือ ทั้งตัว หรือ คนเผือก
  • มีโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากถูกแสงแดดที่เรียกว่าโรค Actinic keratoses หรือ Solar keratosis
  • ผิวหนังส่วนที่เคยได้รับรังสีต่างๆโดยเฉพาะจากการรักษาโรคด้วยการฉายรังสีรักษา, หรือโรคผิวหนังที่รักษาด้วยรังสียูวี (PUVA/ Psoralen + Ultraviolet light A หรือ Photochemotherapy)  
  • ผิวสัมผัส หรือ ได้รับสารหนูเรื้อรัง หรือ ปริมาณมาก
  • ผิวหนังที่สัมผัสสารเคมีเรื้อรัง
  • โรคผิวหนังทางพันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้ที่พบน้อยมาก ชื่อ Xeroderma pigmentosum ซึ่งคือโรคที่สารดีเอ็นเอของเซลล์ผิวหนังจะซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายจากแสงแดดไม่ได้หรือได้แต่ไม่ดี
  • คนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ เช่น โรคเอชไอวี, ผู้ที่กินยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ผู้ใช้ครีมและแสงยูวีในบ้านเพื่อทำให้ผิวเป็นสีแทน
  • ผู้เคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน

*อ่านเพิ่มเพิ่มเติม วิธีป้องกันมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่มะเร็งไฝในตอนต่อไป ‘497’ วิธีป้องกันมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่มะเร็งไฝ

บรรณานุกรม

  1. https://cancer.ca/en/cancer-information/cancer-types/skin-non-melanoma/risks  [2023, Jan16]
  2. https://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/cancers/17-Non-melanoma-skin-cancer-fact-sheet.pdf   [2023, Jan16]