กระบังลมหย่อน หรืออวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (Pelvic organ prolapse)
- โดย ปวีณ์พร โสภณ
- 30 เมษายน 2567
- Tweet
กระบังลมหย่อน หรืออวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (Pelvic organ prolapse) สารบัญ เกริ่นนำ
o ผนังช่องคลอดด้านหน้าหย่อน o ช่องคลอดด้านหลังหย่อน o ช่องคลอดหย่อน
o ระบบ Shaw’s o ระบบ Baden Walker o ระบบ Pelvic Organ Prolapse Quantification
o แบบไม่ผ่าตัด o แบบผ่าตัด
เกริ่นนำ กระบังลมหย่อน หรืออวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเป็นภาวะที่อวัยวะอุ้งเชิงกรานเคลื่อนต่ำลงมาจากตำแหน่งปกติลงมาถึง ช่องคลอดในผู้หญิง ภาวะเเบบนี้มักเกิดขึ้นเมื่ออุ้งเชิงกรานแฟบตัวลงหลัง การรักษามะเร็งทางนรีเวช การคลอดบุตร หรือการ ยกของหนัก การบาดเจ็บที่พังผืดและโครงสร้างเชื่อมต่ออื่นๆสามารถส่งผลให้เกิดกระเพาะปัสสวะหย่อน (Cystocele) ลำไส้หย่อน (Rectocele) หรือเกิดทั้งสองอย่าง การรักษาเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนอาหารการกินและการเปลี่ยนแปลงดำเนินชีวิตกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัด |
||||||||||||||||||
ชนิดของกระบังลมหย่อน หรืออวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน
o กระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele): กระเพาะปัสสาวะหย่อนมาที่ช่องคลอด o ท่อปัสสาวะหย่อน (Urethrocele): ท่อปัสสาวะถูก ดันเข้าไปในช่องคลอด o กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะหย่อน (Cystourethrocele): การยื่นออกมาของทั้งกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะเข้าไป ในช่องคลอด
o ไส้เลื่อน (Enterocele): เยื่อบุช่องท้องและลำไส้เล็กยื่นตัวเข้าไปในช่องคลอดฃ o ลำไส้หย่อน (Rectocele): ลำไส้ตรง หรืออีกชื่อคือ ลำไส้ตรงสุดท้าย หย่อนลงมาทางช่องคลอดด้านหลัง o ลำไส้ใหญ่ส่วนคดหย่อน (Sigmoidocele) คือ ภาวะที่ลำไส้ใหญ่ส่วนคด (Sigmoid) เคลื่อนลงเข้าไปในช่องอุ้งเชิงกรานส่วน ล่าง
o มดลูกหย่อน (Uterine prolapse) : มดลูกเคลื่อนต่ำลงมาในช่องคลอด o ช่องคลอดบนสุดหย่อน (Vaginal vault prolapse): ส่วนของช่องคลอดที่อยู่บนสุดหย่อนออกมานอกช่องคลอด - หลังการผ่า ตัดเอามดลูกออก |
||||||||||||||||||
การจัดระดับการหย่อน การจัดระดับของกระบังลมหย่อน หรืออวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน สามารถจัดได้ 3 ระบบ คือ 1. ระบบ Shaw’s
o 2/3 ส่วนบน กระเพาะปัสสาวะหย่อน o 1/3 ส่วนล่าง ท่อปัสสาวะหย่อน
o 1/3 ส่วนบน ไส้เลื่อน o 1/3 ส่วนกลาง ลำไส้หย่อน o 1/3 ส่วนล่าง ฝีเย็บบกพร่อง
o เกรด 0 ต่ำแหน่งปกติ o เกรด 1 หย่อนลงสู่ช่องคลอด แต่ไม่ถึงปากช่องคลอด o เกรด 2 หย่อนลงมาจนถึงปากช่องคลอด o เกรด 3 หย่อนลงมาจนออกมาข้างนอกปากช่องคลอด o เกรด 4 มดลูกย้อย |
||||||||||||||||||
2. ระบบ Baden-Walker
|
||||||||||||||||||
3. ระบบ Pelvic Organ Prolapse Quantification (POP-Q)
|
||||||||||||||||||
การจัดการ ช่องคลอดหย่อนสามารถรักษาได้ตามความรุนเเรงของอาการ ● แบบไม่ผ่าตัด ด้วยมาตราการแบบอนุรักษ์ เช่น เปลี่ยนอาหารและการออกกำลังกาย, การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel exercise), และ กายภาพบำบัดบริเวณอุ้งเชิงกราน อุปกรณ์ช่วยพยุงอวัยวะอุ้งเชิงกราน (Pessary), อุปกรณ์ที่เป็นยางหรือยางซิลิโคนที่พอดีกับผู้ป่วยเป็น อีกทางเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด ใช้โดยการสอดเข้าไปในช่องคลอดและสามารถใส่ไว้ได้นานหลายเดือน อุปกรณ์ช่วยพยุงอวัยวะอุ้งเชิงกราน สามารถบรรเทาอาการหย่อน และอาการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับอาการหย่อน อุปกรณ์ช่วยพยุงอวัยวะอุ้งเชิงกรานเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับ ผู้หญิงที่ต้องการคงภาวะเจริญพันธ์ไว้, ผู้ที่มีประสบการณ์ผ่าตัดที่ไม่ดี หรือผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการบำบัดทางกายภาพได้ อุปกรณ์ช่วย พยุงอวัยวะอุ้งเชิงกรานต้องให้เจ้าหน้าที่ทดสอบอุปกรณ์ให้พอดีกับผู้ใช้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ใช้ก็ยังสามารถเอาออก ทำความสาะอาด และเปลี่ยน ใหม่ได้ด้วยตัวเอง อุปกรณ์ช่วยพยุงอวัยวะอุ้งเชิงกรานควรถูกแนะนำเป็นอีกทางเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัดสำหรับผู้หญิงที่กำลังพิจารณาการผ่าตัด |
||||||||||||||||||
● แบบผ่าตัด การผ่าตัด อาทิเช่น การผ่าตัดซ่อมแซมโดยใช้เนื้อเยื่อของตัวเอง (Native tissue repair), การซ่อมแซมการปลูกถ่ายอวัยวะทาง ชีวภาพ (Biological graft repair), การผ่าตัดซ่อมแซมด้วยแผ่นตาข่าย Mesh ที่ละลายได้และละลายไม่ได้, การผ่าตัดเพื่อแก้ไขหรือป้อง กันอาการห้อยยานของอวัยวะในช่องคลอด (Colpopexy) หรือการผ่าตัดเย็บปิดช่องคลอด (Colpocleisis) การผ่าตัดตามตัวอย่างเหล่านี้ ใช้ในการรักษาอาการต่างๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้หรือทางเดินปัสสาวะ ความเจ็บปวด หรือความรู้สึกย้อย เมื่อผ่าตัดอวัยวะอุ้งเชิงกราน หย่อน แนะนำให้ใช้สายสลิงคล้องกลางท่อปัสสาวะระหว่างหรือ หลังการผ่าตัด เพราะมีแนวโน้มลดอาการไอจามปัสสาวะเล็ด(Stress urinary incontinence) ใ การซ่อมแซมช่องคลอดผ่านทางช่องคลอด (Transvaginal repair) ในกรณีที่มีผนังช่องคลอดทางด้านหลังหย่อน มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิผลมากกว่าการซ่อมแซมผ่านทางรูถวารหนัก (Transanal repair) อย่างไรก็ตามแต่ก็มีผลข้างเคียงแบบรุนแรงก็ เกิดขึ้นได้ไม่น้อย จากหลักฐานไม่สนับสนุนการใช้แผ่น Mesh ผ่าตัดผ่านช่องคลอดเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดซ่อมแซมโดยใช้เนื้อเยื่อของตัวเอง (Native tissue repair) สำหรับอาการอวัยวะด้านหน้าหย่อน เนื่องจากมีผล ข้างเคียงรุนแรงเพิ่มขึ้น สำหรับการซ่อมแซมช่องคลอดส่วนหลัง การใช้แผ่นตาข่าย Mesh หรือวัสดุปลูกถ่าย (Graft material) ไม่มีแนวโน้มที่จะให้ประโยชน์ใดๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดซ่อมแซมโดยใช้เนื้อเยื่อของตัวเอง (Native tissue repair) การใช้แผ่นตาข่าย Mesh ถาวรทางช่อง คลอด มีแนวโน้มที่จะลดการรับรู้ความรู้สึกช่องคลอดหย่อน และลดความเสี่ยง ของอาการหย่อนซ้ำ รวมถึงความเสี่ยงที่จะผ่าตัดอาการ หย่อนอีกรอบ อย่างไรก็ตาม การใช้แผ่นตาข่าย mesh ทางช่องคลอดก็มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บของกระเพาะ ปัสสาวะ และจำเป็น ต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำสำหรับอาการไอจามปัสสาวะ เล็ด (Stress urinary incontinence) หรือแผ่นตาข่าย (Mesh) ทะลุ นอกจากนี้การใช้แผ่นตาข่าย Mesh ทางช่องคลอดในการรักษาช่องคลอดหย่อนมีส่วน ให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการเจ็บปวด การติดเชื้อ และอวัยวะทะลุ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของแผ่นตาข่าย Mesh รุ่นใหม่จำนวนมากยังไม่เป็นที่ทราบเเน่ชัด มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแบบกลุ่ม หลายพันคดี และยุติคดีกับผู้ผลิตอุปกรณ์แผ่นตาข่าย mesh ถาวรทางช่องคลอดหลายราย สำหรับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการยอดช่องคลอดหย่อน การผ่าตัดผ่านหน้าท้อง หรือ Sacral colpopexy การเย็บส่วนยอดของช่อง คลอดกับเอ็นกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (Sacral ligament) ที่ตำแหน่งส่วน โค้งสุดของกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (Sacral promontory) ซึ่งเป็น การผ่าตัดผ่านหน้าท้อง มีแนวโน้มที่ผลลัพธ์ดีกว่าวิธีการผ่าตัดผ่านช่องคลอด |
||||||||||||||||||
ระบาดวิทยา อาการหย่อนของอวัยวะสืบพันธุ์ในเพศหญิง เกิดขึ้นกว่า 316 ล้านคน ของผู้หญิงทั่วโลก ในปี 2010 (9.3% ของผู้หญิงทั้งหมด) |
||||||||||||||||||
การวิจัย ในการศึกษา กระบังลมหย่อน หรืออวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน มีการศึกษาในสัตว์ลายชนิด เช่น สัตว์ตระกูล Primate ที่ไม่ใช่คน แกะ หมู หนู และอื่นๆ อ่านตรวจทานโดย รศ. พญ. ประนอม บุพศิริ สูติ-นรีแพทย์ แปลและเรียบเรียงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Pelvic_organ_prolapse [2024, April 30] โดย ปวีณ์พร โสภณ |