โปรแลกติน (Prolactin)

บทความที่เกี่ยวข้อง
โปรแลกติน

โปรแลกติน/โปรแลคติน หรือ ฮอร์โมนหลั่งน้ำนม (Prolactin/ย่อว่า PRL) หรือ Milk hormone หรือ Luteotropic hormone (ย่อว่า LTH) หรือ Leuteotropin หรือ Lactogenic hormone หรือ Lactogen เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง(ส่วนน้อยมากสร้างได้จากอวัยวะอื่นๆ เช่น เต้านม มดลูก เนื้อเยื่อไขมัน) มีหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนม โดยฮอร์โมนที่เป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้มีการหลั่งโปรแลกตินคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน นอกจากนั้นคือ การดูดนม และยังมีฮอร์โมนอื่นๆที่สัมพันธ์กับการหลั่งโปรแลกติน คือ ฮอร์โมนตัวอื่นๆที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง เช่น ฮอร์โมนควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย(Antidiuretic hormone) และ ฮอร์โมนOxytocinที่ควบคุมการหด/บีบตัวของมดลูก, และยังมีฮอร์โมนอื่นๆอีก เช่น ฮอร์โมนควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์(Thyrotropin releasing hormone)ซึ่งสร้างจากสมองส่วนที่เรียกว่า Hypothalamus

โปรแลกตินสามารถตรวจได้จากเลือด โดยค่าปกติจะขึ้นกับ เพศ และภาวะต่างๆของร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์

  • ค่าปกติในหญิงวัยเจริญพันธ์ที่ไม่ตั้งครรภ์ คือ น้อยกว่า 25 nanogram/milliliter หรือ ng/ml
  • ค่าปกติในหญิงตั้งครรภ์คือ 34-386 ng/ml
  • ค่าปกติในผู้ชายคือ น้อยกว่า 15 ng/ml

อนึ่ง ภาวะมีโปรแลกตินในเลือดสูง(อาการคือ มีน้ำนมไหลผิดปกติ พบได้ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย ในทุกอายุ แต่พบได้น้อยในเด็ก) มักพบในโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง(Pituitary adenoma) เนื้องอกสมองที่เรียกว่า Prolactinoma

บรรณานุกรม

  1. http://www.healthline.com/health/prolactin#Normalresults5 [2018,March3]
  2. https://global.britannica.com/science/prolactin [2018,March3]
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Prolactin [2018,March3]
Updated 2018,March3