โคเดอีน (Codeine)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

โคเดอีน (Codeine) จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ มักนำไปผสมกับยาอื่นเพื่อเสริมฤทธิ์ในการรักษา

ยาโคเดอีนมีสรรพคุณอย่างไร?

โคเดอีน

ยาโคเดอีนมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • แก้ไอ
  • แก้ท้องร่วง/ท้องเสีย และ
  • แก้ปวด

ยาโคเดอีนออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาโคเดอีน ออกฤทธิ์ที่สมอง โดยปิดกั้นความรู้สึกเจ็บ/ปวด และระงับอาการไอ

ยาโคเดอีนมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาโคเดอีน มีการจัดจำหน่ายในรูปแบบ เช่น ยาเดี่ยว และยาผสมร่วมกับยาอื่น มีทั้งชนิด

  • เม็ด หรือ
  • เป็นส่วนผสมในยาน้ำ

ยาโคเดอีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาโคเดอีน มีขนาดรับประทาน เช่น

  • สำหรับแก้ไอ และแก้ปวด แพทย์จะสั่งจ่ายยาโคเดอีน โดยแบ่งรับประทานทุก 4 -6 ชั่วโมง ตามความเหมาะสม

อนึ่ง:

  • ในการรักษาความเจ็บป่วย สำหรับผู้ใหญ่ ขนาดสูงสุดที่รับประทานไม่ควรเกิน 240 มิลลิกรัม/วัน เพราะปริมาณยาที่สูงกว่านี้จะเพิ่มผลข้างเคียงจากยาให้สูงขึ้นมากจนเกิดอันตรายได้
  • ส่วนในเด็ก: การใช้ยานี้ต้องอยู่ในคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาโคเดอีน ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด และอาการจากการแพ้ยา เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก หรือแน่น /หายใจติดขัด/หายใจลำบาก /หอบเหนื่อย
  • โรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาโคเดอีนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์หรือไม่ หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาหลายประเภทอาจผ่านรก หรือผ่านเข้าสู่น้ำนม และเข้าสู่ทารก และก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้

หากลืมรับประทานยาโคเดอีนควรทำอย่างไร?

ด้วยยาโคเดอีนเดี่ยวๆจัดเป็นยาเสพติด เราจึงมักพบเห็นมีการผสมร่วมกับยาตัวอื่นเพื่อช่วย เสริมฤทธิ์ในการรักษา หากลืมรับประทานยาโคเดอีนสามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยาใกล้กับมื้อถัดไป ให้รับประทานขนาดปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

ยาโคเดอีนมีผลไม่พึงประสงค์ไหม?

ผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)จากยาโคเดอีน เช่น

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • คลื่นไส้-อาเจียน
  • ท้องผูก
  • ปากคอแห้ง
  • เหงื่อออกมาก
  • ง่วงนอน
  • มึนงง
  • ปัสสาวะไม่ออก
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • อุณหภูมิร่างกายลดลง
  • ประสาทหลอน
  • อารมณ์แปรปรวน และ
  • อาจเกิดอาการชัก

ยาโคเดอีนมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?

ยาโคเดอีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นๆ เช่น

  • การกินยาโคเดอีนร่วมกับยาแก้ปวดอาจก่อให้เกิดอาการชักได้ง่าย อีกทั้งทำให้ระบบการหายใจทำงานผิดปกติและมีภาวะหายใจลำบาก ซึ่งกลุ่มยาแก้ปวด เช่นยา ทรามาดอล (Tramadol) เป็นต้น
  • การกินยาโคเดอีนร่วมกับ ยาลดความดันยาลดความดันเลือดสูง อาจเสริมฤทธิ์กันและทำให้ความดันโลหิตต่ำลงมาก จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน กลุ่มยาลดความดันโลหิตฯ เช่นยา เนฟีดีปีน (Nefedipine)
  • การกินยาโคเดอีนร่วมกับยานอนหลับบางกลุ่มจะเสริมฤทธิ์กดการหายใจ และมีความเสี่ยงต่อการขาดอากาศ กลุ่มยานอนหลับดังกล่าว เช่นยา อัลปราโซแลม (Alprazolam)
  • การกินยาโคเดอีนร่วมกับยารักษาอาการภูมิแพ้/ ยาแก้แพ้ จะเสริมฤทธิ์การกดการหายใจของร่างกาย ทำให้รู้สึกมึนงง และอ่อนเพลีย ตัวอย่างยารักษาอาการภูมิแพ้ เช่นยา คลอร์เฟนนิรามิน (Chlorpheniramine)

มีข้อควรระวังในการใช้ยาโคเดอีนอย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาโคเดอีน เช่น

  • ระวังการใช้ยากับผู้ที่แพ้โคเดอีนเพราะจะเกิดการแพ้ยาได้
  • ด้วยยาโคเดอีนมีฤทธิ์เสพติด จึงต้องระมัดระวังในการรับประทานยาอย่างถูกต้องเฉพาะตามแพทย์/พยาบาล/เภสัชกรแนะนำเท่านั้น เพื่อป้องกันการเสพติดยาโดยรู้ไม่เท่าทัน
  • โคเดอีนมีฤทธิ์กดการหายใจของร่างกาย อาจก่อให้เกิดภาวะการหายใจติดขัด จึงต้องระ วังการใช้ยากับผู้ที่ป่วยเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหืด
  • ห้ามใช้ยานี้กับหญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เพราะยาผ่านรกเข้าสู่ทารกก่อให้เกิดผลข้าง เคียงต่อทารก เมื่อคลอดเด็กจะเติบโตได้ช้า มีอาการจากติดยานี้ และมีการกดการหายใจได้
  • ระวังการใช้ยาโคเดอีนกับผู้สูงอายุ เพราะเกิดผลข้างเคียงสูงกว่าวัยผู้ใหญ่ทั่วไป โดย เฉพาะการกดการหายใจ
  • ระวังการใช้ยาโคเดอีนกับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์ โมน) เพราะโคเดอีนมักทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงทำให้รู้สึกหนาวสั่นมากขึ้น
  • ผู้ที่ได้รับยาโคเดอีน ไม่ควรขับขี่ยานยนต์ หรือทำงานกับเครื่องจักร เพราะยาจะทำให้ง่วงนอน จึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมถึงยาโคเดอีน) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวม ทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ควรเก็บรักษายาโคเดอีนอย่างไร?

ควรเก็บยาโคเดอีน เช่น

  • เก็บยาให้พ้นแสง/แสงแดด
  • เลี่ยงการเก็บยาในที่ชื้น หรือในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง แต่สามารถเก็บยาในอุณหภูมิห้องได้
  • ไม่ควรเก็บยาที่หมดอายุ ควรทิ้งทำลาย และ
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ชื่อทางการค้าและบริษัทผู้ผลิตยาโคเดอีนในประเทศไทย

ชื่อทางการค้า และบริษัทผู้ผลิตยาโคเดอีน เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
BLUCO (บลูโค)B L Hua
CODEPECT (โคดีเปค)Neopharm
CODESIA (โคดีเซีย)Asian Pharm
CODEINE GPO (โคเดอีน จีพีโอ)GPO
CODICET (โคดีเซท)B L Hua
MASAPARA W/CODEINE (มาซาพารา วิท โคเดอีน)Masa Lab
NEOPECT (นีโอเปค)Masa Lab
ROLAR (โรลาร์)Pharmaland
ROPECT (โรเปค)R P Scherer / Star Lab
ROTUSS (โรทัส)R P Scherer / Star Lab
SECO (เซโค)Sriprasit Pharma / SPS Medical
TERCO – C (เทอร์โค-ซี)B L Hua
TYLENOL WITH CODEINE (ไทลีนอล วิท โคเดอีน)Janssen – Cilag / DKSH

บรรณานุกรม

1. https://www.mims.com/thailand/drug/info/codeine/?type=brief&mtype=generic[2020, Sept5]