วิตามินซี หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อ กรดแอสคอบิก (Ascorbic acid หรือ L-Ascorbic acid หรือเรียกกันง่ายๆว่า Ascorbate) มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี เป็นวิตามินที่พบได้ตามธรรมชาติ เช่น ในผัก ผลไม้ หน้าที่ของวิตามินซีที่ร่างกายมนุษย์นำไปใช้เช่น
หากร่างกายขาดวิตามินซีจะแสดงออกมาให้เห็นในลักษณะของเลือดออกตามไรฟัน (โรคลักปิดลักเปิด/โรคขาดวิตามินซี) อ่อนเพลีย และทำให้หลอดเลือดฝอยขาดความยืดหยุ่นไม่แข็งแรงหลอดเลือดฯจึงแตกได้ง่าย
วิตามินซีสามารถดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารได้อย่างรวดเร็วและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ โดยปกติผู้ชายควรได้รับวิตามินซี 90 มิลลิกรัม/วัน ในขณะที่ผู้หญิงต้องการ 75 มิลลิกรัม/วัน แต่สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรควรได้รับวิตามินซีสูงถึงประมาณ 120 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งอาจมีความแตกต่างทางมาตรฐานการบริโภคของแต่ละประเทศที่ต่างกันเล็กน้อย
ยังมีผู้บริโภคบางกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงต่อการขาดวิตามินซีเช่น
อนึ่งยังมีคุณประโยชน์ของวิตามินซีที่ถูกนำมาประยุกต์ในการรักษาอาการโรคต่างๆอาทิ
อย่างไรก็ตามยังพบข้อมูลเปรียบเทียบของการใช้วิตามินซีมากเกินไป อาจส่งผลให้มีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ เป็นตะคริวที่ท้อง การบริโภควิตามินซีมากเกินความจำเป็นยังส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณเกลือออกซาเลต (Oxalate) และกรดยูริค (Uric acid) อันเป็นสาเหตุของนิ่วในไตได้อีกด้วย หรือการอมวิตามินซีชนิดเม็ดสำหรับรับประทานเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคไม่ควรกระทำด้วยวิตามินซีมีฤทธิ์เป็นกรดสามารถทำให้เคลือบฟันและฟันสึกกร่อนได้
ยาวิตามินซีถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติของไทย การเลือกใช้วิตามินซีได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย ผู้บริโภคสามารถสอบถามข้อมูลการใช้วิตามินซีได้จากแพทย์หรือเภสัชกรตามร้านขายยาโดยทั่วไป
ยาวิตามินซีมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เช่น
กลไกการออกฤทธิ์ของยาวิตามินซีคือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายโดยช่วยในกระบวนการสังเคราะห์คอลลาเจน (Collagen) รวมถึงช่วยสนับสนุนการสร้างองค์ประกอบต่างๆของเซลล์ในร่างกาย
ยาวิตามินซีมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเช่น
วิตามินซีมีขนาดการบริหารยา/ใช้ยาได้หลากหลายขึ้นกับอาการโรคและความรุนแรง ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างดังนี้เช่น
ก. สำหรับอาการขาดวิตามินซี:
ข. สำหรับรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน/โรคลักปิดลักเปิด:
*อนึ่ง: วิตามินซีชนิดรับประทานสามารถรับประทานก่อนหรือพร้อมอาหารก็ได้
*****หมายเหตุ:
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาวิตามินซี ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
หากลืมรับประทานยาวิตามินซีสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
อย่างไรก็ตามเพื่อประสิทธิผลของการรักษาควรรับประทานยาวิตามินซีให้ตรงเวลา
สำหรับวิตามินซีสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น มีอาการท้องเสีย วิงเวียน เป็นลม หน้าแดง ปวดศีรษะ ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะ คริวที่ท้อง การอมวิตามินซีชนิดรับประทานสามารถทำลายเคลือบฟันได้ บางกรณีกับผู้ที่ได้รับวิตามินซีเป็นปริมาณมากจะทำให้มีอาการปวดหลังช่วงล่าง
มีข้อควรระวังการใช้วิตามินซีเช่น
***** อนึ่ง:
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมวิตามินซีด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด ) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาวิตามินซีมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น
ควรเก็บยาวิตามินซีในช่วงอุณหภูมิห้องที่เย็น ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่ เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
ยาวิตามินซีที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Ascorbic Acid A.N.H. (แอสคอบิก แอซิด เอ.เอ็น.เฮช) | A N H Products |
Ascorbic Acid Osoth Interlab (แอสคอบิก แอซิด โอสถ อินเตอร์แล็บ) | Osoth Interlab |
Ascorbic Acid Patar (แอสคอบิก แอซิด พาตาร์) | Patar Lab |
Ascorbic Acid Pharma Square (แอสคอบิก แอซิด ฟาร์มา สแควร์) | Pharma Square |
Blackmores Bio C (แบล็คมอร์ ไบโอ ซี) | Blackmores |