กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle) กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 2 มิถุนายน 2562
- Tweet
- โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบกล้ามเนื้อ (Muscle disease)
- เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis)
- มะเร็งกล้ามเนื้อ (Muscle tissue cancer)
- มะเร็งกล้ามเนื้อลาย (Rhabdomyosarcoma)
- มะเร็งกล้ามเนื้อเรียบ (Leiomyosarcoma)
- มะเร็งหัวใจ (Cardiac cancer)
กล้ามเนื้อ(Muscle) คือ เนื้อเยื่อสำคัญชนิดหนึ่งของร่างกายที่มีหน้าที่ในการยืดหด/เคลื่อนไหวเพื่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะ แขน ขา ผนังของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร และผนังของอวัยวะทุกอวัยวะ จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อเยื่ออ่อน
กล้ามเนื้อ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ กล้ามเนื้อลาย, กล้ามเนื้อเรียบ, และกล้ามเนื้อหัวใจ
ก. กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle) คือ กล้ามเนื้อซึ่งเมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นเซลล์มีลักษณะเป็นเส้นลาย จึงได้ชื่อว่า กล้ามเนื้อลาย ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อภายนอกร่างกายทั้งหมด เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกับกระดูกและข้อ จึงเรียกได้อีกชื่อว่า ‘Skeletal muscle’ (Skeletal แปลว่า โครงกระดูก, Muscle คือ กล้ามเนื้อ) และ เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานภายใต้ ‘คำสั่งของสมอง’ เราจึงสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ เช่น การสั่งให้ยกแขน ยกขา เป็นต้น จึงมีอีกชื่อว่า ‘Voluntary muscle’ (Voluntary แปลว่า ตั้งใจ)
ข. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เซลล์ไม่มีลาย เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานภายใต้ระบบประสาทอัตโนมัติ ไม่อยู่ในการควบคุมโดยตรงของสมอง เราจึงไม่สามารถสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อเหล่านี้ได้ จึงมีอีกชื่อ คือ ‘กล้ามเนื้ออิสสระ / Involuntary muscle’ (Involuntary แปลว่า ไม่ตั้งใจ ไม่ได้บังคับ) โดยกล้ามเนื้อเหล่านี้ เป็นกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในทั้งหมด เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่กระเพาะปัสสาวะ และ หัวใจ เป็นต้น
ค. กล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac muscle หรือ Myocardium) จัดอยู่ในกลุ่มกล้ามเนื้อเรียบที่ทำงานภายใต้ระบบประสาทอัตโนมัติเช่นกัน แต่เนื่องจากมีลักษณะการทำงานที่ต่างจากกล้ามเนื้อเรียบโดยทั่วไป คือ ต้องเต้น/บีบและคลายตัวตลอดเวลา ทางการแพทย์จึงมักจัดแยกให้เป็นกล้ามเนื้ออีกประเภท
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Muscle [2019,May11]
- https://medlineplus.gov/ency/imagepages/19841.htm [2019,May11]