logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ นิ่ว

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : นิ่ว

นิ่ว (Stone หรือ Calculi หรือ Lithiasis) คือเกลือเคมีหรือสารเคมีบางชนิด เช่น ไขมันคอเลสเตอรอลที่เกิดเป็นก้อนแข็งอยู่ภายในอวัยวะต่างๆ เช่น ไต กระเพาะปัสสาวะ และถุงน้ำดี กลไกการเกิดนิ่วจะแตกต่างกันตามอวัยวะที่เกิดนิ่ว เช่น

  • นิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากการมีเกลือเคมีหรือสารเคมีบางชนิดในร่างกายสูงมากผิดปกติ หรือเกิดจากการบริโภคอาหารบางชนิดไม่ถูกสัดส่วนอย่างการกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
  • นิ่วในไต/ในท่อไต เกิดจากมีการติดเชื้อเรื้อรังของไต และจากภาวะมีปัสสาวะน้อย สารต่างๆ ในปัสสาวะจึงเข้มข้นตกตะกอนได้ง่าย
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการกินอาหารที่มีออกซาเลตสูงหรือสูงปานกลางต่อเนื่อง เช่น โยเกิร์ต ถั่วรูปไต ถั่วเหลือง งา ลูกนัท ผลเบอร์รี มะเดื่อ แครอท บีทรูท มะเขือ ผักกะหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง บรอคโคลิ หัวหอม ผักกะเฉด และยอดผักต่างๆ

ก. การเอานิ่วออกจากไต: ขึ้นกับขนาดก้อนนิ่ว เช่น ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้นิ่วหลุดออกมาเอง กินยาละลายนิ่ว ยาขับนิ่ว เพื่อช่วยให้ไต/ท่อไตบีบตัวสูงขึ้น นิ่วจึงหลุดออกมาเองได้เร็วขึ้น หรือการสลายนิ่วด้วยหัตถการทางการแพทย์ เช่น การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง การผ่าตัด

ข. การรักษาสาเหตุ: เมื่อทราบสาเหตุของโรคนิ่ว เช่น รักษาโรคเกาต์เมื่อมีสาเหตุจากโรคเกาต์ ใช้ยาลดกรดยูริคในเลือดกรณีมีกรดยูริคในเลือดสูง

ค. การรักษาประคับประคองตามอาการ: เช่น ยาบรรเทาปวด/ยาแก้ปวด เมื่อมีอาการปวดท้อง/ปวดหลัง ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรีย การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อผู้ป่วยกินได้น้อย เป็นต้น

  • ปวดหลังเรื้อรังด้านมีนิ่ว บางครั้งอาจปวดหลังหรือปวดท้องรุนแรง
  • ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรืออาจเป็นหนองเมื่อมีการติดเชื้อรุนแรง
  • บางครั้งอาจมีนิ่วก้อนเล็กๆ ปนมากับปัสสาวะ
  • มีไข้ร่วมกับปวดหลัง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อมีการติดเชื้อ/โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย
  • เกิดโรคนิ่วตามจุดที่ก้อนนิ่วไปติดอยู่ เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ
  • โรคไตอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียเรื้อรัง ซึ่งอาจรุนแรงเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือเป็นสาเหตุให้ไตเสียการทำงานจึงเกิดโรคไตเรื้อรัง
  • ภาวะไตวายซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ในแต่ละวัน
  • ไม่กลั้นปัสสาวะ
  • จำกัดการกินอาหารที่มีสารต่างๆ ที่ตกตะกอนได้ง่ายในไต เช่น สารออกซาเลตที่มีสูงในยอดผัก ถั่วรูปไต และผักกะเฉด กรดยูริคที่มีสูงในอาหารโปรตีนและยอดผัก และสารซีสตีนที่มีสูงในอาหารโปรตีน (เนื้อสัตว์ต่างๆ)
  • รีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการทางปัสสาวะเพื่อวินิจฉัยรักษาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงที่เป็นเหตุของโรคไตเรื้อรัง