7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 13

  1. ทางการแพทย์

ในประเทศไทยมีสถาบันทางการแพทย์และโรงพยาบาลทีมีเครื่องโคบอลต์-60 อยู่ 39 เครื่อง ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง (Cancer) และในการตรวจต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

การจัดเก็บต้นกำเนิดรังสี

ในทางปฏิบัติ คนทั่วไปมักไม่ได้รับรังสีมากเกินไป (Excessive) จนเป็นอันตราย (Dangerous) เนื่องจากในการปฏิบัติงานทางรังสีนั้น จำเป็นต้องใช้วัสดุมาหุ้ม (Coat) หรือกั้น (Hedge) เช่น คอนกรีต (Concrete), โลหะ (Metal) หรือตะกั่ว (Lead) เพื่อกำบัง (Cover) รังสีในทิศทางที่ไม่ได้ใช้งาน หรือในการเก็บรักษา เพื่อทำให้อัตราของรังสีลดลง และป้องกันการรั่วไหล (Leak) ของรังสี

อันที่จริง สารกัมมันตรังสี (Radio-active) โคบอลต์-60 ที่ใช้อยู่ทั่วไปเป็นแบบปิดผนึก (Sealed source) เมื่อนำมาใช้ในทางการแพทย์ต้นกำเนิด รังสีจะอยู่ในวัสดุกำบังรังสี เช่น ยูเรเนียม (Uranium) และ ตะกั่ว เวลาใช้งานต้นกำเนิดรังสีจะถูกเคลื่อนออกมาทางช่องฉายรังสี (Irradiation channel) ด้วยระบบลม (Pneumatic) รังสีจะถูกฉายไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Target organ)

ในทางอุตสาหกรรมหรือการถ่ายภาพด้วยรังสี (Imaging) สารกัมมันตรังสีจะบรรจุอยู่ในเครื่องฉาย (Projector) ตัวต้นกำเนิดรังสี จะถูกขับเคลื่อนไปยังจุดที่ต้องการ ด้วยอุปกรณ์ควบคุมระยะไกล (Remote) เพื่อฉายรังสี ปริมาณรังสีมีหน่วยวัดเป็น เกรย์ (Gray), ซีเวิร์ต (Sievert), แรด (Rad), และ เร็ม (Rem) โดยที่ปริมาณรังสี 1 เกรย์ = 1 ซีเวิร์ต = 100 แรด และ 1 แรด = 1 เร็ม 

อันตรายหรือโทษจากรังสี 

รังสี คือ อนุภาค (Particle) หรือคลื่น (Wave) ที่ปลดปล่อยออกมา (Release) จากอะตอม (Atom) จึงไม่มีสี (Color), กลิ่น (Odor), หรือสิ่งที่ทำให้สังเกตเห็นได้ (Notice-able) ทำให้ผู้ที่ได้รับ ไม่ทราบว่าตนเองได้รับรังสี ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องวัด (Dosimeter) ที่ประจำติดตัวไว้ทั้งนี้เพื่อวัดรังสีที่ได้รับจากภายนอกว่า มีปริมาณมากน้อยเพียงใด

ในการตรวจวินิจฉัย (Diagnostics) เพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยรังสีเอ็กซ์ ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี จะได้รับรังสีได้ ดังนี้

  1. จากลำแสงรังสีเอ็กซ์ จากหลอดรังสีเอ็กซ์โดยตรง
  2. จากรังสีที่รั่วจากหลอด
  3. จากรังสีกระเจิง (Scatter radiation) ที่ไปกระทบผู้ป่วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจได้รับรังสีเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็น จาก...
    • การส่งตรวจทางรังสีโดยไม่จำเป็น (Unnecessary)
    • การถ่ายภาพรังสีซ้ำ (Repetition)
    • การใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสม (Inappropriate) และ
    • เจ้าหน้าที่ไม่ตระหนักถึงหลักการป้องกันอันตราย จากรังสีและองค์ประกอบต่างๆ ที่สามารถลดปริมาณรังสีได้

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/546 [2023, August 16].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Irradiation [2023, August 16].