ไฮดราลาซีน (Hydralazine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 25 เมษายน 2564
- Tweet
- บทนำ : คือยาอะไร?
- ไฮดราลาซีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ)รักษาโรคอะไร?
- ไฮดราลาซีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ไฮดราลาซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ไฮดราลาซีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ไฮดราลาซีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ไฮดราลาซีนอย่างไร?
- ไฮดราลาซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาไฮดราลาซีนอย่างไร?
- ไฮดราลาซีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจวาย (Heart failure)
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- ยาแผนปัจจุบัน (Conventional medicine หรือ Modern medicine)
- ยาอันตราย (Dangerous drug)
- โลหิตจาง เลือดจาง ซีด (Anemia)
บทนำ : คือยาอะไร?
ไฮดราลาซีน (Hydralazine) คือ ยาลดความดันโลหิตสูง, ตัวยาจะออกฤทธิ์โดยตรงที่ผนังหลอดเลือดแดง รูปแบบยาแผนปัจจุบันของยานี้จะเป็นยาชนิดรับประทานและยาฉีด
เมื่อยาไฮดราลาซีนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ตัวยาจะเข้าจับกับพลาสมาโปรตีนประมาณ 90% ตับจะคอยเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของยานี้อย่างต่อเนื่อง ร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 8 ชั่วโมงเพื่อกำจัดยานี้ 50% ออกจากกระแสเลือดโดยผ่านทิ้งไปกับปัสสาวะ
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ไฮดราลาซีนเป็นยาจำเป็นขั้นพื้นฐานของระบบสาธารณ สุขในระดับชุมชน คณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้จัดให้ยานี้อยู่ในหมวด ยาอันตราย ก่อนการใช้ยานี้ผู้ป่วยจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองและให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาตามความเหมาะสมเท่านั้น
ไฮดราลาซีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ)รักษาโรคอะไร?
ยาไฮดราลาซีนมีสรรพคุณรักษาโรค/ข้อบ่งชี้:
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง
ไฮดราลาซีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาไฮดราลาซีนคือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ต่อผนังหลอดเลือดแดงโดยตรง และทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด ยานี้จะทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ผ่านไต ผ่านสมองเป็นไปอย่างสะดวกขึ้น จากกลไกดังกล่าวจึงทำให้ไฮดราลาซีนมีฤทธิ์รักษาตามสรรพคุณ
ไฮดราลาซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาไฮดราลาซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่าย:
- ยาฉีด ขนาด 20 มิลลิกรัม/ขวด
- ยาเม็ด ขนาด 10 และ 25 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาเม็ดที่ผสมร่วมกับยาอื่นเช่น Reserpine 0.1 มิลลิกรัม + Hydralazine HCl 25 มิลลิ กรัม + Hydrochlorothiazide 15 มิลลิกรัม
ไฮดราลาซีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาไฮดราลาซีนมีขนาดรับประทานในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงดังนี้เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทาน 40 - 50 มิลลิกรัม/วันโดยแบ่งรับประทาน หากจำเป็นแพทย์สามารถปรับขนาดรับประทานเป็น 200 มิลลิกรัม/วัน
- เด็ก (นิยามคำว่าเด็ก): ขนาดยานี้ในเด็กจะขึ้นกับอายุและน้ำหนักตัวของเด็ก การใช้ยานี้ในเด็กจึงอยู่ในดุล พินิจของแพทย์ที่รักษาเท่านั้น
*****หมายเหตุ:
- ควรรับประทานยานี้พร้อมอาหาร
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาไฮดราลาซีน ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/ หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยา หรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาไฮดราลาซีนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆและ/หรือกับอาหารเสริมที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไฮดราลาซีน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ไฮดราลาซีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาไฮดราลาซีนสามารถก่อให้เกิดผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น
- มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว
- ชีพจรเต้นผิดปกติ
- ภาวะหัวใจขาดเลือด
- มีโรคซีด ชนิด โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก(Hemolytic anemia)
- ปวดหัว
- รู้สึกไม่สบายในช่องท้อง
- ใบหน้าแดง
- วิงเวียน
- น้ำมูกมาก
- มีอาการผื่นขึ้นตามผิวหนัง
- เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
- เกิดพิษกับตับ/ตับอักเสบ
- ปัสสาวะขัด
- ท้องผูก
- ซึมเศร้า
- วิตกกังวล
- ตัวสั่น
- กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
*อนึ่ง:สำหรับผู้ที่ใช้ยานี้เกินขนาด อาจตรวจพบอาการ ความดันโลหิตต่ำ, หัวใจเต้นเร็ว, ปวดหัว, หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากพบอาการดังกล่าว ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์/ส่งโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
มีข้อควรระวังการใช้ไฮดราลาซีนอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาไฮดราลาซีนดังนี้เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วอย่างรุนแรง, ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวชนิดที่หัวใจมีการสูบฉีดเลือดออกมาเป็นปริมาณมากๆ, ผู้ป่วยด้วย โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ, รวมถึงผู้ป่วยที่เพิ่งมีภาวะหัวใจล้มเหลว
- ระวังการใช้ยานี้กับ ผู้ที่มีอาการเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (ภาวะหัวใจขาดเลือด) ผู้ ป่วยโรคตับ โรคไต
- ระวังการเกิดความดันโลหิตต่ำเมื่อใช้ยานี้
- ควรตรวจเลือดตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีการใช้ยานี้เพื่อตรวจโรคซีด
- ระวังการใช้ยากับ สตรีตั้งครรภ์ และ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาไฮดราลาซีนด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ไฮดราลาซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาไฮดราลาซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น: เช่น
- การใช้ยาไฮดราลาซีน ร่วมกับ ยา Diazoxide สามารถทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำและหัวใจเต้นช้า หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาไฮดราลาซีน ร่วมกับ ยาแก้ปวด เช่นยา Ibuprofen อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ปวดหัว ตาพร่า ติดตามมา การใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
- การใช้ยาไฮดราลาซีน ร่วมกับ ยา Hydrocortisone อาจทำให้ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของยาไฮดราลาซีนด้อยประสิทธิภาพลงไป อีกทั้งยังอาจเกิดภาวะเกลือโซเดียมและมีน้ำคั่งในร่างกาย(บวม) การจะใช้ยาร่วมกันแพทย์ปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเพื่อลดภาวะที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว
- การใช้ยาไฮดราลาซีน ร่วมกับ ยา Lovastatin อาจเกิดความเสี่ยงเส้นประสาทของร่างกายเกิดอักเสบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
ควรเก็บรักษาไฮดราลาซีนอย่างไร?
ควรเก็บยาไฮดราลาซีน:
- เก็บยาในช่วงอุณหภูมิห้องที่เย็น
- ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
- ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และ ความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไฮดราลาซีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไฮดราลาซีน มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Apresoline (แอพรีโซลีน) | Amdipharm |
Cesoline Y (ซีโซลีน วาย) | Central Poly Trading |
Cesoline-W (ซีโซลีน-ดับเบิ้ลยู) | Central Poly Trading |
Hydralazine Dragees T.O. (ไฮดราลาซีน ดราจีส ที.โอ.) | T.O. Chemicals |
Hydrares (ไฮดราเรส) | Central Poly Trading |
Mano-Ap-Es (มาโน-แอพ-เอส) | Lam Thong |
Reser (เรเซอร์) | T.O. Chemicals |
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Hydralazine [2021,April24]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/info/Cesoline-W/?type=brief [2021,April24]
- https://www.mims.com/thailand/drug/info/hydralazine%20dragees%20t-o- [2021,April24]
- https://www.drugs.com/drug-interactions/diazoxide-with-hydralazine-863-0-1253-0.html [2021,April24]
- https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682246.html#storage-conditions [2021,April24]