ไรฟาเพนติน (Rifapentine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 14 กรกฎาคม 2558
- Tweet
- บทนำ
- ไรฟาเพนตินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ไรฟาเพนตินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ไรฟาเพนตินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ไรฟาเพนตินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ไรฟาเพนตินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ไรฟาเพนตินอย่างไร?
- ไรฟาเพนตินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาไรฟาเพนตินอย่างไร?
- ไรฟาเพนตินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- วัณโรค (Tuberculosis)
- วัณโรคปอดในเด็ก (Childhood tuberculosis)
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill)
- ไอโซไนอาซิด (Isoniazid)
บทนำ
ยาไรฟาเพนติน (Rifapentine) เป็นยาปฏิชีวนะที่นำมารักษาการติดเชื้อวัณโรคปอด ซึ่งมีสา เหตุจากแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium tuberculosis ชื่อการค้าที่รู้จักกันคือ Priftin โดยมักใช้ร่วม กับยาอื่น
ในการรักษาด้วยยานี้นั้นสามารถใช้ยานี้กับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่และเป็นเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามไรฟาเพนตินยังมีข้อจำกัดการใช้บางประการกล่าวคือ ไม่ควรใช้ยานี้รักษา วัณโรคที่ดื้อต่อยาไรแฟมพิน อีกทั้งการรับประทานยานี้ไม่จำเป็นต้องรับประทานทุกวัน แต่ให้รับประ ทานเป็นสัปดาห์เช่น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยใช้ร่วมกับยาอื่นเช่น Isoniazid ทั้ง นี้ขึ้นอยู่กับระยะอาการและความรุนแรงของวัณโรค
รูปแบบยาแผนปัจจุบันของยานี้เป็นยาชนิดรับประทาน การรับประทานยานี้พร้อมมื้ออาหาร จะช่วยทำให้การดูดซึมของยาเป็นไปได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะ-ลำไส้อีกด้วย กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาเม็ดได้ ในสูตรตำรับก็อนุญาตให้ทำการบดเป็นผงพร้อมกับผสมปนกับมื้ออาหารที่มีลักษณะกึ่งเหลวแล้วรับประทานได้อีกด้วย
การดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารของยานี้มีประมาณ 70% เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดปริมาณ ยาประมาณ 97.7% จะเข้าจับกับพลาสมาโปรตีน ปกติร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 7 วันเพื่อกำจัดยา 80% ออกจากร่างกายโดยผ่านไปกับอุจจาระเสียเป็นส่วนมาก และบางส่วนจะถูกขับออกมากับปัสสาวะ
เราจะพบเห็นการใช้ยานี้ในสถานพยาบาลใหญ่ๆเท่านั้น ด้วยมีความจำเพาะเจาะจงและมีขอบเขตการใช้กับผู้ป่วยอย่างจำเพาะเจาะจง ที่ต้องเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
ไรฟาเพนตินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาไรฟาเพนตินมีสรรพคุณรักษาวัณโรคปอด
ไรฟาเพนตินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาไรฟาเพนตินมีกลไกการออกฤทธิ์โดย ตัวยาจะยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคที่มีชื่อว่า DNA-dependent RNA polymerase แต่ยานี้จะไม่มีผลต่อเซลล์ของร่างกายผู้ป่วย ส่งผลให้เชื้อวัณโรคไม่สามารถกระจายพันธุ์และตายลงในที่สุด
ไรฟาเพนตินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาไรฟาเพนตินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็นยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 150 มิลลิกรัม/เม็ด
ไรฟาเพนตินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาไรฟาเพนตินมีขนาดรับประทานดังนี้เช่น
- ผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป: เริ่มต้นรับประทานยา 600 มิลลิกรัม (4 เม็ด) สัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยเว้นเวลาการรับประทานยาห่างกัน 3 วันเป็นอย่างต่ำเป็นเวลา 2 เดือน จากนั้นให้ลดความถี่การรับประทานยาโดยให้รับประทานสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นเวลา 4 เดือน
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี: ขนาดยานี้และการใช้ยาขึ้นกับน้ำหนักตัวของเด็กและความรุนแรงของโรคซึ่งจะแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน จึงต้องอยู่ในคำสั่งของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
*****หมายเหตุ:
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาไรฟาเพนติน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาไรฟาเพนตินอาจส่งผลให้อาการ ของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไรฟาเพนตินสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับ การรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ไรฟาเพนตินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาไรฟาเพนตินสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น ปัสสาวะถี่/บ่อย การตรวจปัสสาวะพบมีโปรตีนในปัสสาวะ มีผื่นคัน เกิดสิว เบื่ออาหาร โลหิตจาง ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย ตับอักเสบ ลมพิษ ตัวบวม อ่อนแรง/ล้า การตรวจเลือดพบเกลือโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้น ท้องผูก กระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ
มีข้อควรระวังการใช้ไรฟาเพนตินอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ไรฟาเพนตินเช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้รวมถึงแพ้ยา Rifamycin (ยาฆ่าเชื้อชนิดหนึ่ง)
- ห้ามปรับขนาดรับประทานยานี้ด้วยตนเอง
- ห้ามใช้ยากับสตรีตั้งครรภ์
- ระวังการใช้ยานี้กับสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ
- ไม่ควรใช้ยาไรฟาเพนตินเพียงตัวเดียวในการรักษาวัณโรค
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ ระหว่างการใช้ยานี้แพทย์จะคอยตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบ การทำงานของตับให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ
- ระวังการเกิดผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (อาการเช่น ท้องเสีย ปวดท้อง)
- การใช้ยานี้อาจทำให้ปัสสาวะมีสีแดง
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาไรฟาเพนตินด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ไรฟาเพนตินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาไรฟาเพนตินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น
- การใช้ยาไรฟาเพนตินร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิดอาจทำให้ฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดด้อยลง ทำให้เสี่ยงกับการมีภาวะเลือดออกหรือเกิดการตั้งครรภ์ตามมา หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันควรปรับขนาดรับประทานของยาเม็ดคุมกำเนิดให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป และในการมีเพศสัมพันธ์ควรต้องใช้ถุงยาอนามัยชายร่วมด้วย
- การใช้ยาไรฟาเพนตินร่วมกับยา Ritonavir อาจทำให้ยาต้านไวรัส Ritonavir ด้อยประสิทธิ ภาพและทำให้อาการโรคเอชไอวีลุกลาม หากต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานเป็นกรณีๆไป
- การใช้ยาไรฟาเพนตินร่วมกับยา Ibuprofen จะทำให้ระดับยา Ibuprofen ในกระแสเลือดลดต่ำลง หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน หรือแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
- การใช้ยาไรฟาเพนตินร่วมกับยา Alprazolam อาจทำให้ระดับยาและฤทธิ์การรักษาของ Alprazolam ลดลง หากต้องใช้ยาร่วมกันควรปรับขนาดรับประทานของ Alprazolam ให้เหมาะสม เป็นกรณีไป
ควรเก็บรักษาไรฟาเพนตินอย่างไร?
ควรเก็บยาไรฟาเพนตินภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius) ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไรฟาเพนตินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไรฟาเพนตินที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Priftin (พริฟติน) | sanofi |
บรรณานุกรม
1.http://en.wikipedia.org/wiki/Rifapentine [2015,June20]
2.http://www.rxlist.com/priftin-drug/indications-dosage.htm [2015,June20]
3.http://www.drugs.com/ppa/rifapentine.html [2015,June20]
4.https://www.mims.com/USA/drug/info/Priftin/Priftin%20Tablet%2c%20Film%20Coated?type=full [2015,June20]
5. http://www.medicinenet.com/rifapentine-oral/page2.htm#SideEffects [2015,June20]
6.http://thehealthlinksolutions.com/MasterDrugDB/MonographHTML/HTML/leaflets-english/6914.htm [2015,June20]
7.http://www.drugs.com/drug-interactions/rifapentine-index.html?filter=3&generic_only= [2015,June20]