ไมโอโกลบิน (Myoglobin)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 7 มิถุนายน 2561
- Tweet
- กล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis)
- เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการปวดเค้นหัวใจ (Angina Pectoris)
- ไข้สูงอย่างร้าย (Malignant Hyperthermia)
- อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Reaction)
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบกล้ามเนื้อ (Muscle disease)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
ไมโอโกลบิน หรือ มัยโอโกลบิน หรือ ไมโยโกลบิน (Myoglobin ย่อว่า Mb หรือ MB) อีกชื่อ คือ “Hemoprotein” เป็นสารโปรตีนชนิดหนึ่งในร่างกายที่จับอยู่กับธาตุเหล็กและออกซิเจน และมีความสัมพันธ์กับฮีโมโกลบินในเลือด โดยทั่วไปจะพบไมโอโกลบินอยู่ในกล้ามเนื้อ(มีปริมาณมากในเนื้อแดง)ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดที่รวมถึง แมวน้ำ และวาฬ แต่มีน้อยในปลาต่างๆ ซึ่งปลาหลายชนิดจะไม่มีสารโปรตีนนี้ ทั้งนี้ หน้าที่ของไมโอโกลบินคือ การนำออกซิเจนให้กับกล้ามเนื้อ
ในคน/ทางการแพทย์ จะพบไมโอโกลบินในเลือดเฉพาะกรณีเมื่อกล้ามเนื้อบาดเจ็บ/เสียหายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อลาย การพบ “ไมโอโกลบินในเลือดสูง(Hypermyoglobinemia)”ไม่ใช่การวินิจฉัยเฉพาะเจาะจงที่จะบอกได้ว่า เป็นโรคอะไร แต่จะบอกได้ว่า มีกล้ามเนื้อบาดเจ็บ/เสียหายซึ่งจะรุนแรงหรือไม่ ขึ้นกับปริมาณไมโอโกลบินในเลือด ที่ยิ่งสูงขึ้น ความรุนแรงของการเสียหายของกล้ามเนื้อจะยิ่งสูง
ภาวะที่พบมีไมโอโกลบินในเลือดสูง มักพบใน ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย, อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด, อาการไม่พึงประสงค์จากยา, ภาวะไข้สูงอย่างร้าย ,อุบัติเหตุ/การออกกำลังกาย/กีฬาที่ก่อความเสียหายต่อกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
ไมโอโกลบินในเลือดจะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางไต ดังนั้นปริมาณไมโอโกลบินที่สูงในเลือดจึงส่งผลให้ไตทำงานเกินปกติ จนเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อไตที่ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดภาวะไตวายจนอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิต(ตาย)ได้
การตรวจระดับไมโอโกลบินในเลือด เป็นการตรวจเลือดด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่ใช่การตรวจเป็นประจำ จะตรวจเฉพาะกรณีที่โรคซับซ้อน ดังนั้นจึงเป็นการตรวจที่ใช้เฉพาะแพทย์เฉพาะทาง และตรวจได้เฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งค่าปกติ คือ
- 25 - 72 ng/mL(nanogram/milliliter) หรือ 1.28 to 3.67 nmol/L (nanomol/liter)
อนึ่ง สามารถตรวจไมโอโกลบินได้จากการตรวจปัสสาวะ แต่ไม่นิยมตรวจด้วยวิธีนี้
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Myoglobin [2018,May19]
- https://medlineplus.gov/ency/article/003663.html [2018,May19]