ไทฟอยด์ (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 16 กุมภาพันธ์ 2562
- Tweet
ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ ได้แก่
- ผู้ที่ทำงานหรือเดินทางไปยังบริเวณที่โรคกำลังระบาด
- ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิการที่ต้องสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi
- ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อหรือเคยติดเชื้อมาเมื่อเร็วๆ นี้
- ผู้ทีดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
- ผู้ที่มีออรัลเซ็กซ์หรือเซ็กส์ทางทวารหนักกับบุคคลที่เป็นพาหะ
อาการทั่วไปจะค่อยๆ เกิดขึ้น 1-3สัปดาห์หลังการติดเชื้อ โดยผู้ป่วยจะมีอาการ
- เป็นไข้ต่ำและค่อยๆ สูงขึ้นในแต่ละวัน จนอาจจะถึง 40.5 C
- ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- ปวดกล้ามเนื้อ
- เหงื่อออก
- ไอแห้ง
- เบื่ออาหารและน้ำหนักลด
- ปวดท้อง
- ท้องเสียหรือท้องผูก
- เป็นผื่น
- ท้องบวม
หากได้รับการรักษาทันที อาการจะดีขึ้นใน แต่หากไม่ทำการรักษาอาการจะแย่ลง อาจจะทำให้มีอาการ
- คลุ้มคลั่ง (Delirious)
- นอนหมดแรง เคลื่อนไหวไม่ได้ และตาปิดได้ครึ่งตา
กรณีที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน อาการจะดีขึ้นในสัปดาห์ที่ 3-4 และมีร้อยละ 10 ที่กลับมามีอาการเป็นซ้ำ (Relapses) ภายหลังจากที่อาการดีขึ้น 1-2 สัปดาห์ โดยมีประมาณร้อยละ 3-5 ที่เป็นแบบเรื้อรัง
แหล่งข้อมูล:
- Typhoid fever. https://www.nhs.uk/conditions/typhoid-fever/ [2018, February 15].
- Typhoid fever. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/typhoid-fever/symptoms-causes/syc-20378661 [2018, February 15].
- Typhoid Fever. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/typhoid-fever#1 [2018, February 15].