ไดคูมารอล (Dicoumarol)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 1 กันยายน 2563
- Tweet
- บทนำ
- ไดคูมารอลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ไดคูมารอลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ไดคูมารอลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ไดคูมารอลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ไดคูมารอลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ไดคูมารอลอย่างไร?
- ไดคูมารอลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาไดคูมารอลอย่างไร?
- ไดคูมารอลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Venous thrombosis)
- โรคเลือด (Blood Diseases)
- เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal bleeding or GI bleeding)
- ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด: ยากันเลือดแข็งตัว (Anticoagulants)
- ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet drug)
บทนำ
ยาไดคูมารอล (Dicoumarol) เป็นยาที่ใช้ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ถูกนำมาใช้กับผู้ ป่วยที่มีภาวะการอุดตันของหลอดเลือดอันเกิดจากเกล็ดเลือดมาชุมนุมรวมตัวกันเป็นก้อน และทำ งานมากเกินไปจนอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย
ยาไดคูมารอลเป็นสารเคมีตามธรรมชาติที่เกิดจากการผสมผสานของพืชและเชื้อราบางชนิด ถูกพบในฟาร์มปศุสัตว์เป็นครั้งแรก ด้วยทำให้เกิดอาการป่วยของสัตว์เลี้ยงโดยทำให้เกิดภาวะตกเลือดของสัตว์เลี้ยง จากนั้นมาภายในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ.2483) ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด และใช้ต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) ทางวงการแพทย์ก็ได้หันไปใช้ยา Warfarin ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์จากไดคูมารอลอีกทีหนึ่ง
ความเป็นพิษของยาไดคูมารอลอยู่ตรงที่ทำให้เกิดอาการตกเลือดหรือเลือดไหลไม่หยุด มักพบในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยามากเกินไป
ธรรมชาติของยานี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะเข้าจับกับพลาสมาโปรตีนในกระแสเลือด ตับจะเป็นผู้ ทำหน้าที่เปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของยาอย่างช้าๆและต่อเนื่อง ก่อนที่จะขับออกจากร่างกายโดยผ่านไปกับอุจจาระและปัสสาวะ
รูปแบบการใช้ยาไดคูมารอลเป็นชนิดรับประทาน และการใช้ยานี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
ไดคูมารอลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาไดคูมารอลมีสรรพคุณลดการจับตัวของเกล็ดเลือด โดยมักใช้ยานี้ร่วมกับยา Heparinในการรักษาการอุดตันของหลอดเลือดดำ/ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Treatment of deep vein thrombosis)
ไดคูมารอลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาไดคูมารอลมีกลไกการออกฤทธ์โดยตัวยาจะก่อกวนกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของวิตามิน เค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกล็ดเลือดจับตัวรวมกัน และยังป้องกันกันการจับตัวของสารโปรทรอมบิน (Prothrombin, สารช่วยให้เลือดแข็งตัว สร้างจากตับ) รวมถึงเอนไซม์หลายตัวที่เป็นปัจจัยทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกัน ด้วยกลไกที่กล่าวมาจึงทำให้ยาไดคูมารอลมีฤทธิ์รักษาตามสรรพคุณ
ไดคูมารอลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาไดคูมารอลมีรูปแบบการจัดจำหน่าย:
- ยาแคปซูลชนิดรับประทาน ขนาด 25 และ 50 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 25, 50 และ 100 มิลลิกรัม/เม็ด
ไดคูมารอลมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาไดคูมารอลมีขนาดรับประทาน เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทาน 25 - 200 มิลลิกรัม/วัน โดยขณะใช้ยานี้แพทย์จะคอยควบคุมค่า Prothrombin time จากการตรวจเลือดควบคู่กันไป
- เด็ก(นิยามคำว่าเด็ก): ปัจจุบันไม่มีรายงานการใช้ยานี้ที่แน่ชัดในเด็ก การจะใช้ยานี้จึงขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
*****หมายเหตุ: ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาไดคูมารอล ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก /หอบเหนื่อย
- โรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาไดคูมารอลอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไดคูมารอลสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการ รับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ไดคูมารอลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาไดคูมารอลสามารถก่อให้เกิดผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง) เช่น
- ก่อให้เกิดภาวะเลือดออกกระเพาะอาหารและลำไส้ (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร)
- ทำให้อุจจาระมีสีดำคล้ำ
- อาจพบเสมหะมีเลือดปนออกมา (เสมหะเป็นเลือด)
- หากอยู่ระหว่างการใช้ยานี้และมีประจำเดือน อาจทำให้ประจำเดือนมามากเกินปกติ
อนึ่ง การแก้ไขอาการพิษของไดคูมารอล (Antidote) ต้องให้วิตามินเค กับคนไข้โดยเป็นตามคำสั่งแพทย์ผู้รักษา
มีข้อควรระวังการใช้ไดคูมารอลอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาไดคูมารอล เช่น
- ห้ามใช้ในผู้แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์
- ห้ามใช้ยากับผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกง่ายหรือมีเกล็ดเลือดต่ำ
- ระวังการใช้ยากับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรและผู้สูงอายุ การใช้ยากับผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องถูกคัดกรองและเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาไดคูมารอลด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ไดคูมารอลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาไดคูมารอลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยาไดคูมารอลร่วมกับยาบางตัวสามารถทำให้ฤทธิ์ของไดคูมารอลเพิ่มขึ้นจนอาจเกิดผลเสียกับคนไข้ ยากลุ่มดังกล่าวเช่น Acetaminophen/Paracetamol, Acetylsalicylic acid/ Aspirin, Allopurinol, Amidarone, Amprenavir (ยาต้านไวรัส), Atazanavir (ยาต้านไวรัส), Capecitabine (ยาเคมีบำบัด), Ceftriaxone (ยาปฏิชีวนะ), Celecoxib, Cimetidine, Ciprofloxacin, Cisapride หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาไดคูมารอลร่วมกับยาบางกลุ่มสามารถทำให้ฤทธิ์ของไดคูมารอลลดลง การใช้ยาร่วมกันแพทย์จำเป็นต้องปรับขนาดการใช้เป็นกรณีๆไป ยากลุ่มดังกล่าวเช่น Aminoglutethimide (ยารักษาโรคบางโรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต), Aprepitant (ยาแก้คลื่นไส้), Azathioprine (ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค), Bosentan (รักษาโรคความดันในหลอดเลือดปอดสูง) , Carbamazepine, Glutethimide (ยานอนหลับ), Mercaptopurine (ยาเคมีบำบัด)
ควรเก็บรักษาไดคูมารอลอย่างไร?
สามารถเก็บยาไดคูมารอล:
- เก็บยาในช่วงอุณหภูมิ 15 - 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
- ห้ามเก็บยา ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
- ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
- เก็บยาบรรจุในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด พ้นความร้อน และความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไดคูมารอลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไดคูมารอล มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Dicoumarol (ไดคูมารอล) | Eli lilly |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Dicoumarol [2020,Aug29]
2. http://www.drugbank.ca/drugs/DB00266 [2020,Aug29]
3. https://pharmacycode.com/msds/Dicoumarol [2020,Aug29]
4. https://pharmacycode.com/Dicoumarol.html[2020,Aug29]
5. http://www.medicatione.com/?c=ing&s=dicumarol [2020,Aug29]
6. https://books.google.co.th/books?id=BfdighlyGiwC&pg=PA614&lpg=PA614&dq=dose+of+dicoumarol&source=bl&ots=Kt99zHq6-8&sig=lU6Bt5e2StiycfR8bm7PCraw76o&hl=th&sa=X&ei=pAKiVJDWOM-puQSe64GwCg&ved=0CDIQ6AEwAw#v=onepage&q=dose%20of%20dicoumarol&f=false [2020,Aug29]
7. http://www.drugs.com/mmx/dicumarol.html#F0010539998 [2020,Aug29]
8. http://www.genelabs.com/drugsdb/details/dicumarol/ [2020,Aug29]