ไซเมทิโคน (Simethicone) แอร์เอกซ์ (Air-X)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 25 พฤษภาคม 2563
- Tweet
- บทนำ
- ยาไซเมทิโคนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาไซเมทิโคนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาไซเมทิโคนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาไซเมทิโคนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาไซเมทิโคนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาไซเมทิโคนอย่างไร?
- ยาไซเมทิโคนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาไซเมทิโคนอย่างไร?
- ยาไซเมทิโคนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊ส (Abdominal bloating)
- อาหารไม่ย่อย ธาตุพิการ (Indigestion)
- กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease)
- โรคแผลเปบติค (Peptic ulcer) / โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer)
- โรคกระเพาะอาหาร หรือ โรคของกระเพาะอาหาร (Stomach disease)
บทนำ
ยาไซเมทิโคน (Simethicone) หรือยาชื่อทางการค้าที่คนมักรู้จัก คือ ‘แอร์เอกซ์ (Air-X)’ ถูกนำ มาใช้ทางเภสัชกรรมในฐานะยาแก้ท้องอืด อันมีสาเหตุมาจากแก๊สที่เกิดในกระเพาะอาหารและลำ ไส้ เช่น แก๊สไฮโดรเจน (Hydrogen) และแก๊สมีเทน (Methane) เป็นต้น นอกจากนี้ยังบรรเทาอา การจุกเสียดอันเกิดจากแก๊สที่มีปริมาณมากเกินไปอีกด้วย ยาไซเมทิโคนไม่สามารถป้องกันการเกิดแก๊สจากขบวนการย่อยอาหารได้ เพียงแต่ทำหน้าที่ระบายแก๊สที่เกิดขึ้นนั้นออกจากร่างกายได้โดยเร็ว
ยาไซเมทิโคน ไม่ถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหาร และจะถูกขับออกมากับอุจจาระ จึงถูกจัดระดับว่าเป็นยาที่ค่อนข้างมีความปลอดภัย และได้รับการสนับสนุนให้ผลิตเป็นยารักษาอาการ โคลิค (Colic) ที่พบในเด็กทารก นอกจากนี้ยังใช้ไซเมทิโคนเพื่อลดแก๊ส ที่อาจจะไปบดบังภาพของการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ได้อีกด้วย การจัดจำหน่ายในท้องตลาดยา มีทั้งเป็นประเภทยาเดี่ยว และยาผสมร่วมกับยาตัวอื่น ดังนั้นการใช้ยา ยังควรต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือสามารถขอคำปรึกษาจากเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
ยาไซเมทิโคนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
สรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ของยาไซเมทิโคน เช่น
- รักษาและบรรเทาอาการท้องอืด อันมีสาเหตุจากมีแก๊สในช่องทางเดินอาหารมากเกินไป
- บรรเทาอาการจุกเสียดท้องจากภาวะอาหารไม่ย่อย
- บรรเทาอาการจุกเสียดท้องเนื่องจากมีแก๊สหลังการผ่าตัดกระเพาะหรือลำไส้
- ใช้กับผู้ป่วยก่อนทำการตรวจอัลตราซาวด์ในช่องท้อง
ยาไซเมทิโคนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ไซเมทิโคนมีกลไกการออกฤทธิ์โดย ตัวยาจะไปลดแรงตึงผิวของแก๊สในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ฟองแก๊สเหล่านั้นถูกขับออกจากทางเดินอาหารได้เร็วขึ้น
ยาไซเมทิโคนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
รูปแบบการจัดจำหน่ายของยาไซเมทิโคน เช่น
- ยาผสมชนิดเม็ด ขนาดความแรง 25, 30, 40, 50, 60, 100, 500, มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาผสมชนิดแคปซูล ขนาดความแรง 300 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาผสมชนิดน้ำ ขนาดความแรง 60, 75, 100, 125, 150 มิลลิกรัม/15 มิลลิลิตร
- ยาเดี่ยวชนิดเม็ด ขนาดความแรง 40, 80, 120 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาเดี่ยวชนิดแคปซูลนิ่ม ขนาดความแรง 150 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาเดี่ยวชนิดน้ำสำหรับเด็กเล็ก ขนาดความแรง 40 มิลลิกรัม/0.6 มิลลิลิตร
ยาไซเมทิโคนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ในบทความนี้จะขอกล่าวถึง ‘ยาไซเมทิโคนขนาดรับประทานในรูปแบบของยาเดี่ยวเท่านั้น’ เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทานโดยเคี้ยวก่อนกลืนครั้งละ 1 – 2 เม็ด วันละ 3 - 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน
- เด็ก (นิยามคำว่าเด็ก)อายุมากกว่า 3 – 6 ขวบ: รับประทานครั้งละ 40 มิลลิกรัม ทุก 6 - 8 ชั่วโมง พร้อมอา หาร
- เด็กทารก - อายุ 3 ขวบ: รับประทานครั้งละ 20 มิลลิกรัม ทุก 6 - 8 ชั่วโมง พร้อมอาหาร
*อนึ่ง: ขนาดรับประทานยาไซเมทิโคน รวมถึงระยะเวลา และความถี่ของการให้ยาในแต่ละวัน ควรต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น โดยเฉพาะในเด็กทารก และในเด็กเล็ก
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาไซเมทิโคน ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์/ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาไซเมทิโคนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไซเมทิโคน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาไซเมทิโคนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยังไม่ค่อยพบผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง /อาการข้างเคียง) ของยาไซเมทิโคน แต่หากหลังรับประทานแล้ว มีอาการแพ้ ให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์/ไปโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาทันที อาการเช่น
- ผื่นคัน
- การหายใจติดขัด/หายใจ
มีข้อควรระวังการใช้ยาไซเมทิโคนอย่างไร?
ข้อควรระวังในการยาไซเมทิโคน เช่น
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่แพ้ยา ไซเมทิโคน
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์
- ห้ามรับประทานยาที่หมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาไซเมทิโคนด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษา เภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาไซเมทิโคนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาไซเมทิโคนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยาไซเมทิโคนร่วมกับยารักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ(ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) ยาไซเมทิโคนสามารถรบกวนการดูดซึมของยาที่รักษาโรคไทรอยด์ได้ (เช่นยา Liothyronine, Levothyroxine) หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ควรเว้นระยะเวลารับประทานยาให้ห่างกันประมาณ 4 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
ควรเก็บรักษายาไซเมทิโคนอย่างไร
ควรเก็บยาไซเมทิโคน เช่น
- เก็บยาภายใต้อุณหภูมิ 15 – 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด ป้องกันแสง/แสงแดด ความร้อน ความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาไซเมทิโคน มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไซเมทิโคน มียาชื่อทางการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Abella (อเบลลา) | V S Pharma |
Admag (แอดแม็ก) | T P Drug |
Air-X (แอร์-เอ็กซ์) | R.X. |
Alticon (อัลทิคอน) | K.B. Pharma |
Aludon Forte (อลูดอน ฟอร์ด) | Acdhon |
Alutop Gel (อลูทอป เจล) | General Drugs House |
Amacone (เอมาโคน) | B L Hua |
Amco (แอมโค) | Polipharm |
Amico-L Mixture (เอมิโค-แอล มิกซ์เจอร์) | T.O. Chemicals |
Amogin OTC (เอโมจิน โอทีซี) | Millimed |
Antacia-SM (แอนตาเซีย-เอสเอ็ม) | The Forty-Two |
Antacil (แอนตาซิล) | Thai Nakorn Patana |
Avarin (เอวาริน) | Mega Lifesciences |
Belcid (เบลซิด) | Biolab |
Berclomine (เบอร์โคลมีน) | Polipharm |
Blow-X (โบว์-เอ็กซ์) | T. Man Pharma |
Bowa Gel (โบวา เจล) | Thai Nakorn Patana |
Bubble Drops (บับเบิ้ล ดร็อป) | P P Lab |
Burajel (บูราเจล) | Burapha |
Calthicon (แคลทิคอน) | Pharmasant Lab |
Caryopin (แครี่โอปิน) | Chinta |
Cophargel (โคพราเจล) | Community Pharm PCL |
Cymine (ซีมายน์) | Pharmasant Lab |
Defomag (เดโฟแม็ก) | Pharmasant Lab |
Defomil (เดโฟมิล) | Nakornpatana |
Degas (ดีแก๊ส) | R.X. |
Dioxzye (ไดอ็อกซี) | Thai Nakorn Patana |
Disflatyl (ดีสฟลาติล) | A. Menarini |
Dissowel (ดีสโซเวล) | Union Drug |
Enzymet (เอ็นซายเม็ท) | Ranbaxy Unichem |
Kenya Gel (เคนยา เจล) | Kenyaku |
Kremil (ครีมิล) | Great Eastern |
L-Dacin (แอล-ดาซิน) | Utopian |
Logastin (โลแก๊สติน) | Osoth Interlab |
Machto (แมชโต) | Nakornpatana |
Mag 77 (แม็ก-77) | Osotspa |
Magsenum-D (แม็กซีนัม-ดี) | Chinta |
Malugel (มาลูเจล) | Charoen Bhaesaj Lab |
Malugel-S (มาลูเจล-เอส) | Charoen Bhaesaj Lab |
Mano (มาโน) | Milano |
Vin (วิน) | Patar Lab |
V cap (วี แคป) | Patar Lab |
Voragas (โวราแก๊ส) | V S Pharma |
Ziga-Gel (ซิกา-เจล) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Zigatab (ซิกาแทบ) | Bangkok Lab & Cosmetic |
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Simeticone [2020,May16]
- https://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fThailand%2fdrug%2finfo%2fDisflatyl%2fdisflatyl-disflatyl%2520forte%3fq%3ddysflatyl%26type%3dbrief [2020,May16]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/AdvancedSearch/ [2020,May16]
- https://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fThailand%2fdrug%2finfo%2fAir-X%2fair-x-air-x%2520sf%3fq%3dsimethicone%26type%3dbrief [2020,May16]
- https://www.drugs.com/cdi/simethicone-capsules-and-tablets.html [2020,May16]
- https://www.drugs.com/drug-interactions/simethicone-index.html?filter=2&generic_only= [2020,May16]