ไข้ดิน (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ไข้ดิน-3

      

ส่วนอาการแทรกซ้อนของโรคเมลิออยโดสิส ได้แก่

  • การติดเชื้อในกระแสเลือด
  • อวัยวะล้มเหลว
  • ภาวะปอดรั่ว (Pneumothorax)
  • ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac tamponade)
  • การกลับมาติดเชื้ออีก (Recurrence of infection)

ทั้งนี้ ระยะเวลาตั้งแต่การติดเชื้อจนปรากฏอาการนั้นโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ อย่างไรก็ดี มีบางกรณีที่ใช้เวลาตั้งแต่ 1 วัน ถึงหลายปีก็ได้

โดยปัจจัยหลักที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่

  • โรคเบาหวาน
  • โรคตับ
  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคธาลัสซีเมีย
  • โรคมะเร็งหรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ไม่เกี่ยวกับเชื้อเฮชไอวี
  • โรคปอดเรื้อรัง เช่น ซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease = COPD) และ โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis)

สำหรับการวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิสทำได้ด้วยการตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) การเพาะเชื้อจาก เลือด เสมหะ (Sputum) หรือ เนื้อเยื่อจากบริเวณที่ติดเชื้อ

การรักษามักเริ่มด้วยการให้ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial therapy) ทางหลอดเลือดเป็นเวลา 10-14 วัน และตามด้วยการกินยาต้านจุลชีพเป็นเวลา 3-6 เดือน ซึ่งยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือด ได้แก่

  • ยา Ceftazidime administered ทุก 6-8 ชั่วโมง หรือ
  • ยา Meropenem administered ทุก 8 ชั่วโมง

ส่วนยาต้านจุลชีพที่ใช้กิน เช่น

  • ยา Trimethoprim-sulfamethoxazole ทุก 12 ชั่วโมง หรือ
  • ยา Amoxicillin/clavulanic acid ทุก 8 ชั่วโมง

ในส่วนของการป้องกันหรือการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่

  • ผู้ที่มีแผลเปิดและผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำนิ่ง (Standing water)
  • เกษตรกรควรสวมรองเท้าบูท เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ขาและเท้า

แหล่งข้อมูล:

  1. Melioidosis. https://www.cdc.gov/melioidosis/index.html#:~:text=Melioidosis%2C%20also%20called%20Whitmore's%20disease,Australia%20where%20it%20is%20widespread. [2020, September 10].
  2. Melioidosis. https://dermnetnz.org/topics/melioidosis/[2020, September 10].
  3. Melioidosis (Whitmore's Disease). https://www.medicinenet.com/melioidosis/article.htm [2020, September 10].