“ชิคุนกุนยา” โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย-2

      

      อาการอย่างอื่น ได้แก่

  • ตาแพ้แสง (Photophobia)
  • เจ็บคอ
  • คลั่งผอม (Anorexia)
  • คลื่นไส้
  • เป็นผื่น

      การวินิจฉัยโรคสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทดสอบภูมิคุ้มกันในน้ำเหลือง (Serological tests)

      สำหรับคนที่ติดเชื้อแล้วมักมีภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้รักษาหรือป้องกันโรคชิคุนกุนยา การรักษาทำได้ด้วยการ

  • พักผ่อนให้มาก
  • ดื่มน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • กินยาลดไข้แก้ปวด เช่น ยา Acetaminophen หรือ ยา Paracetamol
  • ห้ามใช้ยาแอสไพรินและยาเอ็นเสด (Non-steroidal anti-inflammatory drugs = NSAIDS) จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่ใช่ไข้เด็งกี ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการมีเลือดออก (Bleeding)
  • หากเป็นโรคชิคุนกุนยา ต้องระวังไม่ให้ยุงกัดในสัปดาห์แรกที่ป่วย เพราะสามารถแพร่เชื้อผ่านยุงได้

      สำหรับการป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ได้ผลที่สุด คือ การป้องกันการโดนยุงกัดทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนด้วยการ

  • ทายากันยุง แต่

      o ห้ามใช้ยากันยุงในทารกที่อายุน้อยกว่า 2 เดือน

      o ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสเลมอน (Oil of lemon eucalyptus = OLE) หรือ Para-menthane-diol (PMD) ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี

  • ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  • ระวังอย่าให้ยุงกัดกรณีที่เดินทางไปต่างถิ่น

แหล่งข้อมูล:

  1. What is chikungunya fever, and should I be worried? https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infectious-diseases/expert-answers/what-is-chikungunya-fever/faq-20109686 [2018, December 2].
  2. Chikungunya Virus. https://www.cdc.gov/chikungunya/index.html [2018, December 2].
  3. Chikungunya.http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chikungunya [2018, December 2].