โรคหลอดเลือดสมองในเด็ก (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 12 สิงหาคม 2563
- Tweet
ทั้งนี้ โรคหลอดเลือดสมองในเด็กสามารถสัมพันธ์กับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease) ความผิดปกติของหลอดเลือด (Abnormalities in blood vessels) การติดเชื้อ หรือ การอักเสบ
โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในเด็ก เช่น
- โรคหัวใจ
- หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีปัญหา
- มีความผิดปกติของลิ่มเลือด
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease = SCD)
อาการของโรคหลอดเลือดสมองในเด็กจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของสมองที่ได้รับบาดเจ็บ บางส่วนอาจไม่แสดงอาการ แต่บางส่วนแม้ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยแต่ก็สามารถทำให้เกิดความพิการได้มาก เช่น เป็นอัมพาต ตาบอด หรือแม้แต่เสียชีวิต
ซึ่งเด็กที่มีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
- อาการอ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
- พูดลำบาก
- เดินลำบากหรือยืนไม่มั่นคง
- มองไม่เห็น
- ปวดคอหรือคอแข็ง
- ชาหรือเป็นตะคริว
- มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพจิต
- ชัก
- ล้มลงทันทีทันใด
- ปวดศีรษะมาก
- อาเจียน
- หมดสติ
แหล่งข้อมูล:
- Pediatric Stroke.https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/stroke/pediatric-stroke [2020, August 11].
- Stroke in Children. http://www.childrenshospital.org/conditions-and-treatments/conditions/s/strokel [2020, August 11].
- Pediatric Stroke Types, Causes, and Symptoms. https://www.chp.edu/our-services/brain/neurology/stroke-program/causes-and-symptoms [2020, August 11].