โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 8 – รากเหง้าของสาเหตุ (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 22 มีนาคม 2566
- Tweet
โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 8 – รากเหง้าของสาเหตุ (1)
เพื่อให้เข้าใจรากเหง้าของปัญหา เราต้องพิจารณาถึงสาเหตุหลัก (Principal) ของการตาย (Death) และการด้อยสมรรถนะ (Disability) ในขณะที่มุ่งเน้น (Focus) ไปที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ (Major) ที่นำไปสู่อาการ (Condition) เหล่านั้น รากฐาน (Foundation) อันนี้จะนำไปสู่รายการ (List) ของสิ่งที่เราต้องทำเพื่อปรับปรุงสุขภาพของเราเอง
รากเหง้าของสาเหตุที่เราสนใจ คือปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) ที่ดัดแปลงได้ (Modifiable) ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคภัยที่เป็นสาเหตุของการตายและการด้อยสมรรถนะ เนื่องจากเราสามารถเปลี่ยนแปลงความเสี่ยง ดังนั้นเราควรพิจารณารากเหง้าของสาเหตุของโรคหลัก (Major) ของความทุกข์ทรมาน
มากกว่า 50% ของโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardio-vascular disease) ในประชากรชาวอเมริกัน สามารถอธิบายได้ด้วยปัจจัยเสี่ยงที่ดัดแปลงได้ อันได้แก่
- ความดันโลหิตสูง (High-blood pressure)
- เบาหวาน (Diabetes)
- การสูบยา
- คอเล็สเตอรอล (Cholesterol)
- ภาวะอ้วนเกิน (Obesity)
ปัจจัยที่มีผลกระทบมากที่สุด (Impactful) ก็คือ ความดันโลหิตสูง ซึ่งคิดเป็น 25% ของกรณีหลอดเลือดหัวใจ นี่คือสิ่งที่ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่า เป็นความเสี่ยงสูงที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สถิติทั่วโลก (Global) ค่อนข้างโอนเอียง (Staggering) ไปทิศทางที่ 90% ของโรคหลอดเลือดสมองเป็นผลจากปัจจัยเสี่ยงที่ดัดแปลงและควบคุมได้
ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ยังเป็นสาเหตุ (Attribute) ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีผลต่อ (Influence) โรคมะเร็งด้วย อันที่จริง การสูบยา (Smoking) เป็นปัจจัยเสี่ยงสูงสุดสำหรับโรคมะเร็งปอด และเชื่อมโยงไปยัง 80 ถึง 90% ของการตายด้วยโรคมะเร็งปอดทั้งหมด
นอกจากนี้ ก็ยังเป็นสาเหตุของ 8 ใน 10 ของกรณีที่ตายของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) ส่วนภาวะอ้วนเกิน (Obesity) ก็มีความสัมพันธ์ (Associated) กับความเสี่ยงสูงของโรคมะเร็งทรวงอก โดยที่การมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ (Over-weight) ก็เป็น 16% ของโรคมะเร็งทรวงอก ก่อนวัยหมดประจำเดือน (Pre-menopausal)
แม้ว่า ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ มิใช่สาเหตุในที่สุด (Ultimate) ของการตาย แต่ตัวมันเองเชื่อมโยงส่วนมาก ไปยังปัจจัยสาเหตุโดยตรง (Direct causative factor) ที่นำไปสู่วิวัฒนาการของโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของการตายและการด้อยสมรรถนะ ดังนั้นจึงถูกมองว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริง (True) แนวความคิดนี้ ได้รับการสนับสนุนจากการเก็บรวบรวม (Garner) ข้อมูลที่สะสมเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
แหล่งข้อมูล
- Ramirez, Lucas, MD. (2022). Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
- สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.