โรคพยาธิตาบอด (ตอนที่ 2 และตอนจบ)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 14 กุมภาพันธ์ 2556
- Tweet
พยาธิติดต่อในคนโดยผ่านแมลงวันดำ (Black fly) และใช้มนุษย์เป็นแหล่งอาศัยและแพร่พันธุ์ โดย
- แมลงวันดำกัดกินเลือดมนุษย์ที่ติดเชื้อโรคนี้และได้รับตัวอ่อน Microfilaria ของเชื้อเข้าไป
- ตัวอ่อนเข้าไปอยู่ในลำไส้และกล้ามเนื้อปีกของแมลงวันดำ และเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะแรก
- ตัวอ่อนโตเต็มที่และเคลื่อนไปอยู่ในน้ำลายบริเวณปากของแมลงวัน ระยะนี้ใช้เวลา 7 วัน
- แมลงกัดกินเลือดคนต่อไปและปล่อยตัวอ่อนเข้าไปในคนที่ถูกกัด
- ตัวอ่อนเคลื่อนตัวมาชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มนูนและเติบโตเป็นพยาธิเต็มตัวในเวลา 6 - 12 เดือน
- หลังเติบโตเต็มที่ พยาธิตัวผู้และตัวเมียผสมกัน และผลิตตัวอ่อน Microfilaria 700 - 1,500 ตัว/วัน
- ตัวอ่อนเคลื่อนมาที่ผิวหนัง และอยู่ในภาวะที่เหมาะสมที่แมลงวันตัวเมียที่จะย่อยมัน แมลงวันดำจะกัดกินเลือดเป็นอาหารและเริ่มวงจรชีวิตใหม่
การรักษาโรคนี้สามารถรักษาได้โดยการใช้ยา “Ivermectin” ชื่อการค้าคือ “Metizan” ยาถูกบริหารง่ายคือทานเพียง 2 โด้ส ห่างกัน 6 เดือน และให้ซ้ำอีกทุก 3 ปี และเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด คนในชุมชนต้องได้รับรักษาพร้อมกัน เพราะแหล่งสุดท้ายที่เชื้อเติบโตคือในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่มีแหล่งรังโรคในสัตว์อื่น โดยโด้สแรกของยาจะฆ่าตัวอ่อนในระยะแรกในคนที่ติดเชื้อ และป้องกันการแพร่ของเชื้อไปสู่คนอื่น
ยา Ivermectin ทำให้เชื้ออ่อนแรงและฆ่าเชื้อ Microfilaria ที่ทำให้เกิดไข้ คัน บวม ข้ออักเสบ และต่อมน้ำเหลืองโต อาการคันจะค่อยๆ ยาสามารถป้องกันทั้งอัตราการตายและการแพร่เชื้อ อีกทั้งยาไม่ต้องแช่เย็น ปลอดภัย กินปีละ 1 - 2 ครั้ง ยา Ivermectin ออกฤทธิ์ฆ่าพยาธิ โดยรบกวนระบบประสาทและกล้ามเนื้อของตัวพยาธิ และยับยั้งการส่งของสารสื่อประสาท ซึ่งออกฤทธิ์ในตัวพยาธิ แต่ไม่มีผลในคน
ยาอื่นที่ใช้รักษาได้ก็มียา Doxycycline ซึ่งใช้ได้ผลด้วย โดยยาสามารถฆ่า Wolbachia และกำจัดพยาธิตัวเมียได้ แต่การบริหารยายากเนื่องจากต้องกินยานาน 4 - 6 อาทิตย์ติดต่อกัน
โรคนี้ได้มีการออกโปรแกรมที่จะหยุดการแพร่ระบาดของโรคนี้เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาสาธารณสุข โดยที่โปรแกรมอันแรกคือ Onchocerciasis Control Programme (OCP) ในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งสามารถครอบคลุมประชากร 30 ล้านคนใน 11 ประเทศ โดยวิธีการฉีดยาฆ่าตัวอ่อนแมลงวันดำเพื่อควบคุมจำนวนแมลงวันดำ อีกทั้งเมื่อเริ่มมีการใช้ยา Ivemectin ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา
โปรแกรมต่อมา คือ The Onchocerciasis Elimination Programme สำหรับใช้ในทวีปอเมริกา ในปี พ.ศ. 2535 ถัดมาคือโปรแกรม The African Programme for Onchocerciasis Control ในปี พ.ศ. 2538 ครอบคลุมประเทศแอฟริกันกว่า 19 ประเทศ
ได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) สหประชาชาติ (UN) ธนาคารโลก (World bank) ซึ่งได้พิจารณาว่าประสบความสำเร็จอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2545 อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีการเฝ้าระวังต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดอีก ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคชนิดนี้
ในรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2546 กล่าวว่า ปัจจุบันเชื้อนี้ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต แต่ผู้ที่ติดเชื้อโรคชนิดนี้จะมีอายุขัยสั้นลง 13 ปี
แหล่งข้อมูล
- Water-related Diseases: Onchocerciasis". World Health Organization. -http://www.who.int/water_sanitation_health/diseases/oncho/en/. [2013, February 13].
- Onchocerciasis -http://cai.md.chula.ac.th/chulapatho/chulapatho/lecturenote/infection/parasite/onchocerciasis.html [2013, February 13].