โพแทสเซียมในอาหาร (Dietary potassium)

บทความที่เกี่ยวข้อง


โพแทสเซียมในอาหาร

บทนำ

โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุหลัก (Macro minerals) ที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100 มิลลิกรัม (Milligram)ต่อวัน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตตามปกติ โดยแร่ธาตุหลักประกอบด้วย โซเดียม (Sodium), โพแทสเซียม (Potassium), คลอไรด์ (Chloride), แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส ( Phosphorus), แมกนีเซียม (Magnesium), และกำมะถันหรือซัลเฟอร์ (Sulfur) ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงโพแทสเซียม

โพแทสเซียมคืออะไร?

ในร่างกายมีโพแทสเซียมประมาณร้อยละ 0.35 ของน้ำหนักตัว หรือในผู้ใหญ่มีประมาณ 250 กรัม (Gram) พบมากในกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย แต่พบได้น้อยมากในเนื้อเยื่อไขมัน วัยที่มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อจึงมีความต้องการโพแทสเซียมสูง ในคนที่ขาดโปรตีน (Protein) หรืออดอาหารจะมีการสูญเสียโพแทสเซียมออกจากร่างกายมากกว่าปกติ

โพแทสเซียมมีผลต่อร่างกายอย่างไร?

ในภาวะร่างกายปกติจะไม่ขาดโพแทสเซียม แต่สามารถพบภาวะโพแทสเซียมในร่างกายต่ำได้จาก โรคพิษสุราเรื้อรัง อาเจียน ท้องเสีย อดอาหาร เป็นมะเร็งที่ต่อมหมวกไต มีภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน(Diabetic Ketoacidosis) และรับประทานยาขับปัสสาวะ เป็นต้น

ซึ่งโพแทสเซียมมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้

1.1 รักษาสมดุลของน้ำและสมดุลกรด-ด่าง/สมดุลของน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย

1.2 โพแทสเซียมที่อยู่นอกเซลล์ (Cell) ทำหน้าที่ร่วมกับ โซเดียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ในการส่งกระแสประสาท และในการทำงานของกล้ามเนื้อ

1.3 ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme)ในขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

1.4 ถ้าขาดโพแทสเซียมจะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ หัวใจหยุดเต้นได้

1.5 ถ้าโพแทสเซียมในเลือดสูง อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ซึ่งอาการโพแทสเซียมสูงสามารถพบได้ในคนไข้โรคไตวายเรื้อรัง ถ้าพบว่าโพแทสเซียมในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยง น้ำผัก น้ำผลไม้ น้ำต้มผัก สมุนไพร ผักหรือผลไม้แห้ง และผลไม้ต่างๆที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ทุเรียน ส้ม อะโวคาโด ฝรั่ง กีวี แคนตาลูป กล้วย

แหล่งอาหารที่พบโพแทสเซียม

ปริมาณโพแทสเซียม (Potassium) ที่คนทั่วไปควรได้รับคือ 2–6 กรัมต่อวัน หรือ 0.8-1.5 กรัมต่อ 1000 กิโลแคลอรี (Kilocalories)ของพลังงานที่ได้จากอาหาร ซึ่งทั่วไปโพแทเซียมที่ได้จากอาหารจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งโพแทสซียมพบมากใน ผัก ผลไม้ สมุนไพร เป็นต้น

ตารางที่ 1 ปริมาณโพแทสเซียมที่เหมาะสำหรับแต่ละช่วงอายุและเพศ

ตารางที่ 2 ปริมาณโพแทสเซียมในผัก 100 กรัม (Gram)

ตารางที่ 3 ปริมาณโพแทสเซียมในผลไม้ 100 กรัม (Gram)

สรุป

แต่ละ ช่วงอายุ เพศ และสภาวะของร่างกาย จะมีความต้องการโพแทสเซียมแตกต่างกัน การได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เหมาะสมจากอาหาร จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงได้

บรรณานุกรม

  1. อาหารหลัก 5 หมู่ https://krooaoodpat.files.wordpress.com [2018,June23]
  2. บทที่ 6 วิตามิน แร่ธาตุและน้ำ www.facagri.cmru.ac.th/2013/wp-content/uploads/.../6วิตามิน-แร่ธาตุ-น้ำ.pdf [2018,June23]
  3. การเสริมวิตามิน – แร่ธาตุ และCRN ปิระมิด. www.med.cmu.ac.th/dept/nutrition/DATA/COMMON/vitmin%20crn%20pyramid.pdf [2018,June23]
  4. อาหารบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนฟอกเลือด. www.nephrothai.org/images/3.อาหารบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนฟอกเลือด.pdf [2018,June23]