โซเดียมไบฟอสเฟต (Sodium biphosphate)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 2 สิงหาคม 2558
- Tweet
- บทนำ
- โซเดียมไบฟอสเฟตมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- โซเดียมไบฟอสเฟตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- โซเดียมไบฟอสเฟตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- โซเดียมไบฟอสเฟตมีขนาดรับประทาน/การบริหารยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- โซเดียมไบฟอสเฟตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้โซเดียมไบฟอสเฟตอย่างไร?
- โซเดียมไบฟอสเฟตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาโซเดียมไบฟอสเฟตอย่างไร?
- โซเดียมไบฟอสเฟตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาแก้ท้องผูก (Anticonstipation)
- ไตวาย ไตล้มเหลว (Renal failure)
- โรคทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร (Digestive disease)
บทนำ
ยาโซเดียมไบฟอสเฟต (Sodium biphosphate) จัดเป็นสารประเภทเกลือชนิดหนึ่ง มีแร่ธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus) ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ทางคลินิกได้นำยาโซเดียมไบฟอสเฟตมาผสมรวมกับยาโซเดียมฟอสเฟต (Sodium phosphate) เพื่อใช้เป็นยาระบายกับผู้ที่มีอาการท้องผูก ผู้ป่วยที่ต้องทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ก่อนการผ่าตัด รวมถึงผู้ที่ต้องทำการส่องกล้องในทางเดินลำไส้หรือที่เราเรียกกันว่า Endoscopic examinations
ข้อจำกัดของการใช้ยาโซเดียมไบฟอสเฟตมีอยู่หลายประการเช่น ผู้ป่วยเป็นโรคไต ผู้ป่วยมีภาวะลำไส้อุดตัน ลำไส้อักเสบ เป็นแผลที่ลำไส้ หรือมีภาวะหัวใจล้มเหลว แพทย์จะไม่อนุญาตให้ใช้ยานี้ กรณีที่ใช้เป็นยาระบายห้ามใช้เกิน 1 ครั้ง/วัน การใช้ยานี้มากเกินไปจะส่งผลต่อการทำ งานของไตหนักขึ้น รวมถึงรบกวนสมดุลของเกลือแร่ต่างๆในร่างกายจนกระทบต่อระบบการทำ งานของหัวใจอีกด้วย
อนึ่ง ก่อนที่แพทย์จะใช้ยานี้ ผู้ป่วยมักจะได้รับคำถามจากแพทย์เช่น
- ป่วยเป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือไม่ มีภาวะเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารอะไรบ้าง
- ขณะนี้มีการรับประทานยากลุ่ม NSAIDs อยู่หรือไม่
- ต้องมีการตรวจร่างกายว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะขาดน้ำหรือไม่
- อยู่ในช่วงลดน้ำหนักและมีภาวะขาดเกลือแร่ร่วมด้วยหรือไม่
- มีการใช้ยาระบายต่างๆภายใน 7 วันที่ผ่านมาหรือไม่
- แพทย์จะไม่แนะนำการใช้ยานี้เป็นยาระบายกับเด็ก
ปกติการใช้ยาโซเดียมไบฟอสเฟตมักจะถูกนำมาใช้กับผู้ป่วยในสถานพยาบาลเท่านั้น ด้วยต้องอาศัยการตรวจร่างกายมาประกอบก่อนการใช้ยา และระหว่างการใช้ยาต้องคอยควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญอย่างเช่น ไต หัวใจ รวมถึงสภาพของลำไส้หลังการใช้ยา เป็นต้น
ยาโซเดียมไบฟอสเฟตที่เป็นยาระบายชนิดรับประทานนั้น หลังการดูดซึมจากระบบทาง เดินอาหาร ตัวยาจะถูกขับออกโดยไต ระหว่างการใช้ยาประเภทรับประทานนี้จะต้องดื่มน้ำตามเป็นปริมาณที่เพียงพอเพื่อช่วยมิให้ไตทำงานหนักจนเกินไป
ทั้งนี้ การใช้ยานี้กับกลุ่มผู้ป่วยที่มิได้มีการระบุให้ใช้ยานี้เช่น เด็ก สตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร หรือกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก จะ ต้องเพิ่มความระมัดระวังและต้องมีการประเมินผลได้ - ผลเสียก่อนการใช้ยาเป็นอย่างดีจากแพทย์ ผู้รักษาเท่านั้น
โซเดียมไบฟอสเฟตมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาโซเดียมไบฟอสเฟตมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เช่น
โซเดียมไบฟอสเฟตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาโซเดียมไบฟอสเฟตคือ ในขณะที่ตัวยาอยู่ในลำไส้จะเกิดภาวะเร่งการดูดน้ำของร่างกายให้เข้าสู่ลำไส้ ส่งผลให้เกิดแรงดันพร้อมกับมีการบีบตัวของลำไส้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นจนเป็นเหตุให้เกิดการระบายอุจจาระตามมา
โซเดียมไบฟอสเฟตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาโซเดียมไบฟอสเฟต มีรูปแบบการจัดจำหน่ายเช่น
- ยาเม็ดชนิดรับประทานโดยมีส่วนประกอบของโซเดียมไบฟอสเฟต 1.102 กรัม และโซเดียมฟอสเฟต (Sodium phosphate) 0.398 กรัม/เม็ด
- ยาน้ำสวนทวารใช้เป็นยาระบายที่มีส่วนผสมของโซเดียมไบฟอสเฟตและโซเดียมฟอสเฟตขนาดบรรจุ 133 มิลลิลิตร (สำหรับผู้ใหญ่)
โซเดียมไบฟอสเฟตมีขนาดรับประทาน/การบริหารยาอย่างไร?
ยาโซเดียมไบฟอสเฟตมีตัวอย่างขนาดการบริหารยา/ใช้ยา เช่น
ก.เพื่อการทำความสะอาดลำไส้ก่อนรับการผ่าตัดหรือก่อนการส่องกล้องในช่องทางเดินลำไส้:
- ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป: รับประทานยาขนาด 32 เม็ด (ประมาณ 48 กรัม) ร่วมกับน้ำสะอาดประมาณ 2 ลิตร (2,000 ซีซี/cc/cubic centimeter) โดยแบ่งรับประทานครั้งละ 4 เม็ดต่อน้ำประมาณ 250 ซีซีทุกๆ 15 นาทีหลังรับประทานเสร็จแล้ว
- เด็กและผู้อายุต่ำกว่า 18 ปี: ไม่ควรใช้ยานี้กับเด็กและกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ข. ชนิดยาสวนทวาร:
- ผู้ใหญ่: ใช้ยาชนิดสวนทวาร 1 ขวดเพียง 1 ครั้งเพื่อระบายลำไส้ก่อนเข้ารับการผ่าตัด หรือก่อนการส่องกล้องในทางเดินลำไส้/ระบบทางเดินอาหาร
- เด็ก: การใช้ยานี้ในเด็กต้องอยู่ในคำสั่งแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
*อนึ่ง:
*****หมายเหตุ:
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาโซเดียมไบฟอสเฟต ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและ เภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาโซเดียมไบฟอสเฟตอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
การใช้ยาโซเดียมไบฟอสเฟตชนิดรับประทานมักจะใช้ในสถานพยาบาลโดยมีบุคคลากรทางการแพทย์เป็นผู้กำกับดูแลอย่างถูกต้อง ทำให้ยากต่อการลืมรับประทานยา
โซเดียมไบฟอสเฟตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาโซเดียมไบฟอสเฟตสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น
กรณีใช้เป็นยาระบาย: อาจพบอาการปวดศีรษะ วิงเวียน อาเจียน ปัสสาวะน้อยลง มีไข้ ปวดท้องแบบเฉียบพลัน ท้องเสียอย่างรุนแรง มีเลือดออกทางทวารหนัก/อุจจาระเป็นเลือด มีภาวะลมชัก หัวใจเต้นเร็วหรือช้าไม่แน่นอน ลำไส้อาจหยุดเคลื่อนไหว (ท้องอืดมาก) หลังใช้ยานี้
สำหรับผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาด: จะพบอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการชักกระตุก ไตวาย จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต (ตาย) ดังนั้นการใช้ยานี้ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก หากพบอาการผิดปกติจากการได้รับยานี้เกินขนาดควรต้องพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
มีข้อควรระวังการใช้โซเดียมไบฟอสเฟตอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาโซเดียมไบฟอสเฟต เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้หรือแพ้ส่วนประกอบอื่นในสูตรตำรับของยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีความเสี่ยงไตวายเฉียบพลัน
- ห้ามใช้ยาระบายโซเดียมไบฟอสเฟตชนิดรับประทานกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก มีแผลในลำไส้ ผู้ที่มีภาวะลำไส้อุดตัน ผู้ที่มีภาวะเกลือฟอสเฟต (Phosphate) ในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ
- ห้ามใช้ยานี้ทั้งชนิดรับประทานและชนิดสวนทวารในขณะที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหรือขณะมีอาการปวดท้อง
- ด้วยข้อจำกัด/ห้ามการใช้ยานี้ชนิดรับประทานในเด็ก ควรเลี่ยงมาใช้ยาชนิดสวนทวารประ เภทที่ใช้กับเด็กแทน โดยต้องใช้ตามคำสั่งจากแพทย์เท่านั้น
- ระวังการใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ด้วยยังต้องการข้อมูลทางคลิ นิกมาสนับสนุนถึงความปลอดภัยในการใช้ยานี้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะเกลือโพแทสเซียม เกลือแคลเซียมในกระแสเลือดต่ำ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะเกลือโซเดียมในร่างกายสูงเกินปกติ
- ระหว่างการใช้ยานี้ควรเฝ้าระวังเรื่องการทำงานของไต หัวใจ ระบบประสาท มิให้เกิดอา การผิดปกติ
- การรับประทานยานี้ควรต้องดื่มน้ำตามครบปริมาณตามที่แพทย์ระบุเป็นอย่างต่ำเพื่อช่วยลดภาระการทำงานของไต
- ระหว่างรับประทานยานี้หากพบอาการผิดปกติเช่น ผื่นขึ้น มีลมพิษ อึดอัด/หายใจไม่ออก /หายใจลำบาก ให้หยุดการใช้ยาแล้วรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง:
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยาโซเดียมไบฟอสเฟตด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
โซเดียมไบฟอสเฟตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาโซเดียมไบฟอสเฟตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น ระหว่างการใช้ยาโซเดียมไบฟอสเฟตควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายสูญ เสียเกลือโพแทสเซียมติดตามมา
ควรเก็บรักษาโซเดียมไบฟอสเฟตอย่างไร?
ควรเก็บรักษายาโซเดียมไบฟอสเฟตดังนี้เช่น
- รูปแบบยาชนิดรับประทาน: ควรเก็บภายใต้อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
- รูปแบบยาสวนทวาร: สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 23 - 35 องศาเซลเซียส
*อนึ่ง: ห้ามเก็บยานี้ทุกรูปแบบในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่เก็บยาที่มีสภาพเสื่อมหรือที่วัสดุบรรจุชำรุดเสียหาย
โซเดียมไบฟอสเฟตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาคาร์บิโดปาที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
OsmoPrep (ออสโมเพรป) | Salix Pharmaceuticals, Inc |
Unima enema (ยูนิมา อีนีมา) | Unison |
Visicol (วิซิคอล) | Pharmaceutical Manufacturing Research Services Inc. |
บรรณานุกรม
1. http://www.drugs.com/mtm/sodium-biphosphate-and-sodium-phosphate.html [2015,July18]
2. http://ikt-info.ru/usa-drugs/usa-o/9118-osmoprep.html [2015,July18]
3. https://en.wikipedia.org/wiki/Quart [2015,July18]
4. http://drugline.org/drug/medicament/9790/ [2015,July18]
5. http://china.mims.com/Myanmar/drug/info/Unima%20Enema/?type=full#Indications [2015,July18]
6. http://www.drugs.com/pro/Visicol.html [2015,July18]