โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (ตอนที่ 2 และตอนจบ)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 30 พฤษภาคม 2556
- Tweet
SARS โคโรนาไวรัสประกอบด้วยโปรตีน 4 ชนิดที่เป็นโครงสร้างหลัก คือ ส่วนฝาปิดกรด (Nucleocapsid) หนาม (spike) เยื่อหุ้มเซล (Membrane) และเปลือก (envelope) โดยใช้วิธีขยายพันธุ์หรือการจำลอง RNAแบบเดียวกับไวรัสใน ตระกูล Coronavirus
SARS โคโรนาไวรัส มีรูปร่างลักษณะของเซลเป็นอนุภาคเกลียวขนาดใหญ่ โครงสร้างพื้นผิวมีรูปร่างแบบกระเปาะกลม เปลือกของไวรัสประกอบด้วยไขมันและมีอิเลคตรอนคู่เป็นส่วนประกอบของเปลือก ส่วนประกอบภายในของเปลือก มีพื้นที่ผิวที่ยาวและตุ่มนูนโผล่ออกมาจากเปลือกไขมัน ขนาดของอนุภาคเหล่านี้ประมาณ 80 - 90 นาโนเมตร (Nanometer)
SARS โคโรนาไวรัส มีวิวัฒนาการความใกล้ชิดกับโคโรนาไวรัส 2 กลุ่ม กลุ่มที่ใกล้ชิดที่สุดคือ toroviruses ความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่ม 2 โคโรนาไวรัส และ SARS โคโรนาไวรัส ก็คือ กลุ่ม 2 โคโรนาไวรัส มีเอนไซม์ Subunit ซึ่ง SARS โคโรนาไวรัสไม่มี
เมื่อใครก็ตามสัมผัสเชื้อโรคซาร์ อาการแรกเริ่มคือ จะมีไข้สูงอย่างน้อย 38°C (หรือ 100.4°F) หรือสูงกว่า มีอาการคล้ายติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งหนาวสั่น และ เกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว ท้องเสีย เจ็บคอ น้ำมูกไหล หมดแรง ตามมาด้วยอาการ ไอแห้งๆ หายใจสั้นขึ้น และติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน อาการนี้จะคงอยู่ 2 - 10 วัน
ช่วงนี้ควรมีการถ่าย x-ray เพื่อยืนยันการเป็นปอดบวม ถ้าไม่ปรากฏการติดเชื้อและโรคซาร์ ก็ยังเป็นที่สงสัยอยู่ จึงอาจต้องทำ HRCT scan (= High resolution computed tomography) ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจปอดเพิ่ม เพราะสามารถดูได้ง่ายกว่าเมื่อใช้วิธีนี้
ในกรณีที่รุนแรง โรคนี้จะทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และ มีอาการโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน และ ใน 70 - 90% ของโรคนี้ อาจพัฒนาเป็น Lymphopenia (เม็ดเลือดขาวต่ำ) ในกระแสเลือด
ระยะเวลาฟักตัว (Incubation) ของSARS-Co คือ 2 - 10 วัน บางครั้งนานถึง 13 วัน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5 วัน ปกติอาการจะแสดงออกมาอยู่ระหว่าง 2 - 10 วัน หลังสัมผัสเชื้อ ร่างกายจะเริ่มสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อโรค เมื่อเริ่มสัมผัสเชื้อแบบเฉียบพลันหรือแรกเริ่มในสัปดาห์ที่ 3 และลดลงในสัปดาห์ที่ 12 ต่อมาร่างกายจะเริ่มผลิตสารภูมิต้านทาน (Antibody) ซึ่งจะมีปริมาณสูงสุดในสัปดาห์ที่ 12
ในพัฒนาการดูแลรักษา และวัคซีนในอนาคต จะต้องมีการศึกษามากขึ้น เพื่อที่จะทราบความสัมพันธ์ของโครงสร้าง หน้าที่ของเอนไซม์และโครงสร้างโปรตีนของเชื้อไวรัส ในปัจจุบัน มีการผลิตวัคซีนป้องกัน SARS โคโรนาไวรัส ชนิด Subunit ซึ่งเป็นแบบ S. protein ณ ศูนย์โลหิตนครนิวยอร์ค (New York Blood Center)
วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ก็เพื่อรับมือกับกรณีที่มีการระบาดอีกครั้งของโรคซาร์ โคโรนาไวรัส อย่างไรก็ตามต้นทุนและระยะเวลาในการพัฒนา อีกทั้งปริมาณความต้องการในอนาคตที่ไม่แน่นอน รวมทั้งสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้ มีผลกระทบต่อการดำเนินการของโครงการนี้
แหล่งข้อมูล:
- พบพยาบาล 2 คนในซาอุดีอาระเบียติดเชื้อไวรัสพันธุ์ใหม่คล้ายซาร์ส - http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000058509&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2013, May 29].
- SARA Coronavirus - http://en.wikipedia.org/wiki/SARS_coronavirus [2013, May 29].