โคลทาร์โซลูชั่น (Coal tar solution)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 12 กรกฎาคม 2559
- Tweet
- บทนำ
- โคลทาร์โซลูชั่นมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- โคลทาร์โซลูชั่นมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- โคลทาร์โซลูชั่นมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- โคลทาร์โซลูชั่นมีขนาดการบริหารยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมใช้ยาควรทำอย่างไร?
- โคลทาร์โซลูชั่นมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้โคลทาร์โซลูชั่นอย่างไร?
- โคลทาร์โซลูชั่นมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาโคลทาร์โซลูชั่นอย่างไร?
- โคลทาร์โซลูชั่นมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคผิวหนัง (Skin disorder)
- โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
- โรคเซบเดิร์ม โรคผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม (Seborrheic dermatitis)
- ขุยหนังศีรษะในโรคสะเก็ดเงิน (Scalp psoriasis)
- โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก (Atopic dermatitis)
บทนำ
ยาโคลทาร์โซลูชั่น (Coal tar solution) หรือสารละลาย ”น้ำมันดิน” เป็นยาใช้สำหรับผิวหนังภาย นอก ทางคลินิกนำมาบรรเทาอาการโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis), ภาวะผิวแห้ง, ผิวเป็นรอยแดง ผื่นคัน ยานี้ไม่ได้ใช้รักษาโรคแต่จะช่วยบรรเทาอาการทางผิวหนังได้เพียงชั่วคราว รูปแบบของผลิตภัณฑ์ยานี้ จะมีชนิดเป็นแชมพูสระผมขนาดความเข้มข้น 5%, สารประเภทอีมัลชั่น (Emulsion, อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง “รูปแบบยาเตรียม”) ขนาดความเข้มข้น 40%, 20% และ 1% การจะเลือกใช้ยาโคลทาร์โซลูชั่นในรูปแบบใดก็ตามย่อมต้องขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์เท่านั้น
ยาโคลทาร์โซลูชั่นยังสามารถใช้ได้ทั้งกับเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยต้องไม่อยู่ในข้อห้ามที่ทำ ให้แพทย์ไม่สามารถใช้ยาทาชนิดนี้กับผู้ป่วยได้เช่น
- มีประวัติแพ้ยาโคลทาร์โซลูชั่น
- ห้ามใช้กับผิวหนังที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่เพิ่งได้รับการฉายแสงยูวี (UV light)
- มีภาวะผิวหนังเป็นแผลฉีกขาดหรือมีภาวะผื่นผิวหนังอักเสบ
- สตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาโคลทาร์โซลูชั่นด้วยยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยเพียงพอมาสนับสนุนการใช้ยานี้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้
ยาโคลทาร์โซลูชั่นใช้ทาแต่ภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน ห้ามให้ยาเข้าตา เข้าจมูก เข้าปาก การทายาจะต้องทาเฉพาะบริเวณที่เป็นโรคเท่านั้น ไม่ควรทายาครอบคลุมในบริเวณผิวหนังปกติ และไม่ควรทายาหรือใช้ยาโคลทาร์โซลูชั่นติดต่อกันเป็นเวลานาน
องค์การอนามัยโลกได้ระบุให้ยาประเภทโคลทาร์โซลูชั่นอยู่ในรายการยาจำเป็นขั้นพื้นฐานที่สถานพยาบาลควรมีประจำไว้เพื่อให้บริการแก่ประชาชน คณะกรรมการอาหารและยาของไทยก็ได้บรรจุยาโคลทาร์โซลูชั่นอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ผู้บริโภคสามารถซื้อหายานี้จากร้านขายยาและพบเห็นการใช้ได้ในสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน
โคลทาร์โซลูชั่นมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาโคลทาร์โซลูชั่นมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เช่น
- บรรเทาอาการโรคสะเก็ดเงิน
- บำบัดรังแคบนหนังศีรษะ
โอโลพาทาดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาโคลทาร์โซลูชั่นไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ใด มีกลไกการออกฤทธิ์ต่อต้านอาการผื่นคัน ช่วยผลัดเซลล์ผิวหนังเก่าให้หลุดลอกและรอให้เซลล์ผิวหนังชุดใหม่ค่อยๆถูกสร้างขึ้นมา จากกลไกเหล่านี้จึงก่อให้เกิดฤทธิ์ในการรักษาตามสรรพคุณ
โคลทาร์โซลูชั่นมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาโคลทาร์โซลูชั่นมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเช่น
- แชมพูสระผมขนาดความเข้มข้น 5%
- อีมัลชั่นทาผิวหนังขนาดความเข้มข้น 40%, 20% และ 1%
โคลทาร์โซลูชั่นมีขนาดการบริหารยาอย่างไร?
ยาโคลทาร์โซลูชั่นมีขนาดการบริหารยา/ใช้ยาเช่น
ก. สำหรับบรรเทาอาการโรคสะเก็ดเงิน:
- เด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ: อุ่นโคลทาร์โซลูชั่นชนิดอีมัลชั่น 40% ในน้ำอุ่นเพื่อให้ตัวยาเหลวขึ้น และไม่ข้นเกินไป แล้วทาผิวหนังบริเวณที่เป็นโรคสะเก็ดเงินเพียงบางๆถูยาจนกระทั่งแห้ง อาจทายา 1 - 4 ครั้ง/วันหรือเป็นไปตามคำสั่งแพทย์
ข. บำบัดรังแคบนหนังศีรษะ:
- เด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ: ชโลมแชมพูโคลทาร์โซลูชั่นขนาด 5% นวดและสระแชมพูทั่วศีรษะ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด สระซ้ำอีก 1 ครั้งโดยทำตามขั้นตอนแรก ระยะเวลาของการสระผมด้วยแชม พูโคลทาร์โซลูชั่นให้เป็นไปตามคำสั่งแพทย์
*****หมายเหตุ: ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาโคลทาร์โซลูชั่น ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยา/ใช้ยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาโคลทาร์โซลูชั่นอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมใช้ยาควรทำอย่างไร?
หากลืมใช้ยาโคลทาร์โซลูชั่นสามารถใช้ยาเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการใช้ยาในครั้งถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยาเป็น 2 เท่า
อย่างไรก็ตามเพื่อประสิทธิผลของการรักษาควรใช้ยาโคลทาร์โซลูชั่นตรงเวลา
โคลทาร์โซลูชั่นมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
การใช้ยาโคลทาร์โซลูชั่นอาจทำให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น ระคายเคืองผิวหนังที่มีการสัมผัสกับยานี้ และอาจพบมีสิวเกิดขึ้นได้
มีข้อควรระวังการใช้โคลทาร์โซลูชั่นอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้โคลทาร์โซลูชั่นเช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาโคลทาร์โซลูชั่น
- ห้ามใช้ยานี้กับผิวหนังที่มีแผลเปิด หรือมีการอักเสบ หรือผิวหนังที่เพิ่งได้รับการบำบัดด้วยแสงยูวี
- ห้ามมิให้ยาโคลทาร์โซลูชั่นเข้าตา เข้าปาก เข้าจมูก
- ห้ามใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ไม่ควรใช้ยานี้เป็นเวลานานให้ใช้ตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- หยุดการใช้ยานี้ทันทีหากพบอาการแพ้ยานี้รุนแรงเช่น ผื่นคัน ตัวบวม อึดอัด/หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก แล้วรีบไปโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
- ยาโคลทาร์โซลูชั่นเป็นยาบรรเทาอาการโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่ยาสำหรับการรักษา
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และมาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลตามนัดทุกครั้ง
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาโคลทาร์โซลูชั่นด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวม ทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ
โคลทาร์โซลูชั่นมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาโคลทาร์โซลูชั่นมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น หลีกเลี่ยงการใช้ยาโคลทาร์โซลูชั่นในรูปแบบต่างๆร่วมกับยา Aminolevulinic acid (ยารักษาโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งผิวหนังได้) ที่ใช้ทาผิวภายนอกด้วยอาจกระตุ้นให้ผิวหนังแพ้แสงแดดง่าย
ควรเก็บรักษาโคลทาร์โซลูชั่นอย่างไร
ควรเก็บยาโคลทาร์โซลูชั่นภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius) ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
โคลทาร์โซลูชั่นมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาโคลทาร์โซลูชั่นที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าและบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Coal Tar Srichand (โคลทาร์ ศรีจันทร์) | Srichand |
อนึ่งยาชื่อการค้าของยานี้ในประเทศตะวันตกเช่น Betatar, GelCutar emulsion, Neutrogena TDerm, DHS tar estar, Liquor carbonis detergens, Psorigel, Spectro tar skin wash, Tar distillate, Doak tar
บรรณานุกรม
- http://www.drugs.com/mtm/coal-tar-topical.html [25june16]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Coal_tar [25june16]
- http://www.mims.com/thailand/drug/info/coal%20tar/?type=brief&mtype=generic [25june16]
- http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/189#item-9034 [25june16]
- http://www.mims.com/thailand/drug/info/coal%20tar%20srichand/ [25june16]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/coal-tar-topical.html [25june16]