แอสไพริน อย่ากินพร่ำเพรื่อ (ตอนที่ 3)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 28 ตุลาคม 2561
- Tweet
แอสไพรินในปริมาณที่น้อย 75-81 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถใช้เป็นยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet drug) ที่ให้กับผู้ป่วยดังต่อไปนี้
- ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting = CABG)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือที่รู้จักกันดีว่า หัวใจวาย (Heart attack)
- โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันดีว่า เส้นเลือดในสมองอุดตัน (Stroke)
- ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)
- ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome = ACS)
หรือกรณีผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ ที่แพทย์เห็นว่ามีโอกาสในการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ผู้ที่มี
- ระดับคลอเรสเตอรอลสูง
- ความดันโลหิตสูง
- เบาหวาน
- สูบบุหรี่
ข้อควรระวัง – ไม่แนะนำให้ใช้แอสไพรินในผู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- มีแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)
- เป็นโรคเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) หรือมีความผิดปกติอื่นในการไหลของเลือด
- แพ้แอสไพริน
- แพ้ยากลุ่มเอ็นเสด เช่น ยา Ibuprofen
- มีความเสี่ยงในการมีเลือดออกทางเดินอาหาร (Gastrointestinal bleeding) หรือภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke)
- ดื่มแอลกอออล์เป็นประจำ
- กำลังจะทำการรักษาฟันหรือผ่าตัด
และบุคคลต่อไปนี้ควรระมัดระวังในการใช้ยาแอสไพริน ทั้งควรใช้เมื่อแพทย์อนุญาตเท่านั้น
- ผู้ที่เป็นหอบหืด
- ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้
- เคยมีประวัติการมีแผลในกระเพาะอาหาร
- ตับมีปัญหา
- ไตมีปัญหา
แหล่งข้อมูล:
- Uses, benefits, and risks of aspirin. https://www.medicalnewstoday.com/articles/161255.php [2018, October 27].