แอซิติลโคลีน (Acetylcholine)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 9 มกราคม 2559
- Tweet
- กายวิภาคและสรีรวิทยาระบบประสาท (Anatomy and physiology of nervous system)
- โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบกล้ามเนื้อ (Muscle disease)
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle weakness)
- โบทอกซ์ หรือโบทูไลนัมท็อกซิน (Botox or Botulinum Toxin)
- อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
- โรคสมอง โรคทางสมอง (Brain disease)
แอซิติลโคลีน (Acetylcholine) เป็นสารอินทรีย์เคมีที่เป็นสารสื่อประสาทสร้างโดยเซลล์สมอง
ในระบบประสาทส่วนปลาย/ระบบประสาทอัตโนมัติ แอซิติลโคลีนจะทำหน้าที่ตรงรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเพื่อช่วยในการทำงาน/หดตัวของกล้ามเนื้อ
ในสมอง แอซิติลโคลีนจะทำหน้าที่ช่วยในการกระตุ้นการตื่นตัว ความจำ ความสนใจ สมาธิ และการตัดสินใจ
ทั้งนี้โรคที่มักเกิดจากความผิดปกติของแอซิติลโคลีนคือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี(Myasthenia gravis) และอาจเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Acetylcholine [2015,Dec19]
- http://neuroscience.uth.tmc.edu/s1/chapter11.html [2015,Dec19]