แหบเรื้อรังระวังมะเร็งกล่องเสียง (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

แหบเรื้อรังระวังมะเร็งกล่องเสียง-4

      

การรักษาแต่เนิ่นๆ จะทำให้ได้ผลดีมากกว่า โดยการรักษานั้นมักใช้วิธีการ

  • ผ่าตัด
  • ฉายรังสี
  • เคมีบำบัด
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

ทั้งนี้ การผ่าตัดสามารถทำได้หลายแบบ เช่น

  • การตัดเส้นเสียง (Cordectomy)
  • การผ่าตัดส่วนที่อยู่เหนือสายเสียง (Supraglottic laryngectomy)
  • การผ่าตัดกล่องเสียงครึ่งหนึ่ง (Hemilaryngectomy) เพื่อรักษาเสียง
  • การผ่าตัดกล่องเสียงออกบางส่วน (Partial laryngectomy) เพื่อให้พูดได้
  • การผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด (Total laryngectomy)
  • การตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy) ทั้งหมดหรือบางส่วน
  • การผ่าโดยใช้เลเซอร์ (Laser surgery)

ซึ่งภายหลังการผ่าตัด แพทย์อาจใช้วิธีต่อไปนี้ช่วยในการพูดของผู้ป่วย

  • การพูดโดยใช้ลมจากกระเพาะอาหารช่วย (Esophageal Speech) เป็นการฝึกพูดโดยใช้วิธีสูดลมแล้วพ่นลมออกทางหลอดอาหารเพื่อเปล่งเสียง
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยพูด (Electrolarynx / Artificial larynx) ที่ทำงานด้วยแบตเตอร์รี่มีปุ่มเปิดและปิด โดยวางอุปกรณ์ไว้ที่คาง เครื่องจะสั่นในขณะที่ผู้ป่วยขยับปากและริมฝีปาก แต่เสียงที่ได้จะไม่เป็นธรรมชาตินัก
  • การใช้กล่องเสียงเทียม (Voice Prosthesis) ด้วยการเจาะคอ (Tracheoesophageal puncture) ระหว่างหลอดอาหารและหลอดลมแล้วใส่กล่องเสียงเทียม ซึ่งจะต้องทำการเปลี่ยนกล่องเสียงเป็นระยะๆ โดยเสียงที่ได้ค่อนข้างที่จะเป็นธรรมชาติ

ส่วนการป้องกันมะเร็งกล่องเสียงทำได้ด้วยการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต

  • ลดหรือเลิกสูบบุหรี่ยาสูบ
  • ลดหรือเลิกการดื่มแอลกอฮอล์
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant-rich foods)

แหล่งข้อมูล:

  1. What to know about laryngeal cancer.https://www.medicalnewstoday.com/articles/171568[2021, April 23].
  2. Laryngeal Cancer. https://www.healthline.com/health/laryngeal-cancer [2021, April 23].
  3. Laryngeal Cancer. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16611-laryngeal-cancer [2021, April 23].