แหบเรื้อรังระวังมะเร็งกล่องเสียง (ตอนที่ 3)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 17 เมษายน 2564
- Tweet
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจาก
- การดื่มแอลกอฮอล์มาก
- ทุพโภชนาการ
- การติดเชื้อเอชพีวี (HPV / Human papillomavirus)
- มีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน
- มีการสัมผัสกับสารพิษ เช่น แร่ใยหิน (Asbestos) กรดซัลฟูริก (Sulfuric acid)
- สภาพทางพันธุกรรม เช่น โรคโลหิตจางแฟนโคนี (Fanconi Anemia)
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกล่องเสียงขึ้นอยู่กับวิถีการใช้ชีวิต (Lifestyle) เช่น
- การสูบบุหรี่
- เคี้ยวใบยาสูบ
- ไม่กินผักและผลไม้
- กินอาหารแปรรูป (Processed foods) มาก
- ดื่มแอลกอฮอล์
- สัมผัสกับแร่ใยหิน
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกล่องเสียง
โดยเพศชายมีโอกาสเป็น 4 เท่าของเพศหญิง
สำหรับการวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียงอย่างแรกที่แพทย์ทำก็คือ การส่องกล้องตรวจกล่องเสียง (Laryngoscopy) หากพบสิ่งผิดปกติก็อาจให้ตัดชิ้นเนื้อตรวจ (Biopsy) ส่วนการใช้ CT scan หรือ MRI นั้นเป็นการใช้เพื่อดูขนาดและดูการแพร่กระจายของมะเร็ง
โดยการวินิจฉัยระยะ (Stage) ของมะเร็งกล่องเสียง แพทย์มักใช้ระบบ TNM (TNM system) กล่าวคือ
- T แสดงถึงขนาดของก้อนเนื้อปฐมภูมิ (Primary tumor)
- N แสดงถึงว่ามะเร็งกระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง (Lymph nodes)
- M แสดงถึงว่ามะเร็งมีการกระจาย (Metastasize) ไปยังอวัยวะอื่นที่มากกว่าต่อมน้ำเหลือง
แหล่งข้อมูล:
- What to know about laryngeal cancer.https://www.medicalnewstoday.com/articles/171568[2021, April 9].
- Laryngeal Cancer. https://www.healthline.com/health/laryngeal-cancer [2021, April 9].
- Laryngeal Cancer. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16611-laryngeal-cancer [2021, April 9].