แผลประทับผิว (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

แผลประทับผิว-2

      

ประมาณร้อยละ 10 ของคนทั่วไปทั้งชายและหญิงจะมีแผลคีลอยด์ โดยผู้ที่มีผิวคล้ำจะมีโอกาสเป็นคีลอยด์ได้มากกว่า ส่วนปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดคีลอยด์ เช่น

  • ชาวเอเชีย
  • ชาวละติน
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี
  • ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นคีลอยดด์ (การถ่ายทอดทางพันธุกรรม)

การรักษาแผลคีลอยด์สามารถทำได้หลายวิธีด้วยการ

  • การฉีดสเตียรอยด์ – เพื่อให้แผลหดเล็กลง
  • การผ่าตัด – เช่น การผ่าตัดด้วยการจี้เย็น (Cryotherapy) ในกรณีที่แผลมีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีหลังการผ่าตัดอาจกลับมาเป็นซ้ำได้
  • การยิงเลเซอร์ – แต่ก็มีความเสี่ยงในการเป็นแผลและแดง
  • การกดรัดบาดแผล (Pressure treatment) – เพื่อลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณที่ผ่าตัด ช่วยทําให้แผลเป็นนิ่มและเรียบขึ้น

สำหรับการป้องกันการเกิดแผลคีลอยด์นั้น อาจช่วยได้ด้วยการ

  • หลีกเลี่ยงการทำให้ผิวเป็นแผล เช่น การสัก การเจาะหู เป็นต้น
  • ใช้ Pressure pads หรือ Silicone gel pads หลังการได้รับบาดเจ็บเป็นแผล
  • ปกป้องแผลจากแสงแดดเพราะอาจแสงแดดจะทำให้สีผิวคล้ำมากกว่าผิวบริเวณอื่น ซึ่งจะทำให้แผลคีลอยด์ชัดขึ้น

อนึ่ง แผลคีลอยด์มีลักษณะเหมือนกับแผลเป็นนูน (Hypertrophic scars) โดยมีความแตกต่างดังนี้

แผลคีลอยด์ (Keloid) แผลเป็นนูน Hypertrophic scars
มีขนาดใหญ่กว่า มีขนาดเล็กกว่า
เป็นก้อนนูนแข็ง นูนแดง
มักลามออกไปจากแผลเดิม อยู่ตามแนวเดิม
มักไม่แบนเมื่อเวลาผ่านไป มักแบนลงเมื่อเวลาผ่านไป
มักกลับมาเป็นซ้ำเมื่อตัดออก มักเกิดความผิดปกติจากแผลหดรั้ง

แหล่งข้อมูล:

  1. Everything You Need to Know About Keloid Scars. https://www.healthline.com/health/keloids [2020, August 20].
  2. Keloid scars. https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/keloid-scars/ [2020, August 20].
  3. What are keloids? https://familydoctor.org/condition/keloids/ [2020, August 20].