แดดจัดเสี่ยงตาย (ตอนที่ 5)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 6 พฤษภาคม 2563
- Tweet
อาการเพลียแดด (Heat exhaustion) เป็นอาการป่วยที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการที่ต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงและร่ายกายขาดน้ำ เป็นอาการระดับปานกลางของการเจ็บป่วยจากความร้อน (Heat-related illnesses) ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะนำไปสู่การเป็นโรคลมแดด (Heat stroke)
อาการเพลียแดดอาจเกิดได้ทันทีหรือใช้เวลาช่วงหนึ่ง ซึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้นได้แก่
- ผิวเย็นชื้นและขนลุกเมื่ออยู่ในที่ร้อน
- เหงื่อออกมาก
- หน้ามืด เป็นลม (Faintness)
- เวียนศีรษะ (Dizziness)
- อ่อนเพลีย (Fatigue)
- ชีพจรเต้นเร็วอ่อน
- หายใจเร็ว
- ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน
- เป็นตะคริว (Muscle cramps) ที่แขน ขา และท้อง
- คลื่นไส้
- ปวดศีรษะ
- อุณหภูมิสูง 38 C หรือมากกว่า
- หิวน้ำมาก
หากรู้สึกว่ามีอาการเหล่านี้ให้
- หยุดกิจกรรมและพัก
- เข้าสู่ในที่มีอากาศเย็น
- นอนลงโดยให้ขาสูงเล็กน้อย
- คลายเครื่องแต่งกาย
- ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเกลือแร่
- ทำผิวให้เย็น เช่น เช็ดหรือประคบด้วยความเย็น
แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง ให้ไปพบแพทย์
สำหรับสาเหตุของอาการเพลียแดดเกิดจากมีอุณหภูมิในร่างกายสูงเพราะ
- ระบบในร่างกายไม่สามารถทำให้เย็นลงได้ด้วยการขับเหงื่อ (เพราะมีการออกกำลังมากเกิน)
- มีภาวะขาดน้ำ
- มีการดื่มแอลกอฮอล์
- การแต่งกายเกินควร (Overdressing)
โดยผู้ที่มีความเสี่ยงมากก็คือ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และคนอ้วน
แหล่งข้อมูล:
- Heat exhaustion. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heat-exhaustion/symptoms-causes/syc-20373250 [2020, May 5].
- Heat exhaustion and heatstroke. https://www.nhs.uk/conditions/heat-exhaustion-heatstroke/ [2020, May 5].
- Heat Exhaustion, First Aid. https://www.skinsight.com/skin-conditions/first-aid/first-aid-heat-exhaustion?Imiw9cApl [2020, May 5].